ส้มเสี้ยว

ส้มเสี้ยว

ชื่ออื่นๆ : ส้มเสี้ยว
ชื่ออื่นๆ
: คังโค(สุพรรณบุรี), แดงโค(สระบุรี), ป้าม(ส่วย-สุรินทร์), เสี้ยวส้ม(นครราชสึมา), เสี้ยวใหญ่(ปราจีนบุรี)
ชื่อสามัญ :  Orchid Tree, Purple Bauhinia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia malabarica  roxb.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAECAESALPINIODIDEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นส้มเสี้ยว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นได้ประมาณ 10 เมตร ทรงพุ่มกลมเตี้ย แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นขรุขระ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาปนสีน้ำตาล แตกเป็นร่องยาวตื้นและลึกตามลำต้น บางครั้งร่อนเป็นแผ่นบาง กิ่งก้านคดงอ แตกออกจากลำต้นอย่างไม่เป็นระเบียบ เนื้อไม้เปราะและหักง่าย ลายไม้ไม่เป็นระเบียบ
    ส้มเสี้ยว
  • ใบส้มเสี้ยว เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบเว้าลึกถึงครึ่งใบ เป็น 2 พู ปลายแฉกแหลม โคนใบตัดหรือเป็นรูปหัวใจ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-9 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ หลังใบเกลี้ยง ส่วนท้องใบมีขนและต่อมน้ำมันสีน้ำตาล มีเส้นแขนงใบออกจากกลางโคนใบ 9-11 เส้น ก้านใบยาวประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร หูใบขนาดเล็กหลุดร่วงง่าย
  • ดอกส้มเสี้ยว ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบหรือตามง่ามใบ สีขาวออกเขียวหรือเหลืองอ่อน เป็นช่อเล็กๆ ออกดอกเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน
    ส้มเสี้ยว
  • ผลส้มเสี้ยว เป็นฝักแบนยาว โค้งงอ ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่แห้งสีน้ำตาล เมล็ดแบน ผิวเรียบมัน  มี 8-12 เมล็ด ออกผลเดือนกรกฏาคม – กันยายน แหล่งที่พบ ป่าเต็งรัง

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ เปลือกต้น

สรรพคุณ ส้มเสี้ยว :

  • ใบ มีรสเปรี้ยวฝาด เป็นยาขับโลหิตระดู และขับปัสสาวะ แก้แผลเปื่อยพัง ใช้ใบส้มเสี้ยวร่วมกับยาระบาย ทำให้ขับเมือกเสมหะตกทางทวารหนักได้ดี ใช้ร่วมกับยาบำรุงโลหิตระดูที่เป็นลิ่มเป็นก้อนมีกลิ่นเหม็นให้ปกติดีขึ้น
  • เปลือกต้น รสเปรี้ยวฝาด แก้ไอ ฟอกโลหิต
Scroll to top