ว่านกีบแรด

ว่านกีบแรด

ชื่อสมุนไพร : ว่านกีบแรด
ชื่ออื่นๆ
: กีบแรด (แพร่), ปากูปีเละ ปียา (ปัตตานี), กีบม้าลม (ภาคเหนือ), ว่านกีบม้า (ภาคกลาง), ปากูดาฆิง (ภาคใต้), ดูกู (มลายู-ภาคใต้), โด่คเว่โข่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เฟิร์นกีบแรด, กูดกีบม้า, ผักกูดยักษ์
ชื่อสามัญ :  Giant fern, Mule’s-foot fern
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Angiopteris evecta (G.Forst.) Hoffm.
ชื่อวงศ์ : MARATTIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นว่านกีบแรด เป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์น มีความสูงได้ประมาณ 60-180 เซนติเมตร โคนต้นพอง อยู่ติดกับพื้นผิวดิน มีหัวลักษณะเป็นกีบอยู่ใต้ดิน มองดูคล้ายกีบเท้าแรด
    ว่านกีบแรด
  • ใบว่านกีบแรด เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ใบรวมทั้งหมดยาวประมาณ 1.8-4.5 เมตร และกว้างได้ถึง 2 เมตร ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมนไม่เท่ากันหรือเป็นรูปหัวใจตื้นๆ และเบี้ยว ส่วนขอบใบจักมน จักเป็นฟันเลื่อย หรือจักถี่ๆ ตลอดทั้งขอบใบ ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 1-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา อวบน้ำ มีเมล็ดสีน้ำตาล หลังใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนด้านล่างเป็นสีเขียวอ่อน เส้นแจนงใบอิสระแยกสาขาเป็นคู่ จำนวนมาก ก้านใบย่อยบวม ยาวประมาณ 3-8 มิลลิเมตร ก้านใบร่วมมีขนาดใหญ่ ลักษณะอวบกลม ตามใบแก่จะมีอับสปอร์สีน้ำตาล เรียงติดกินเป็นแถวอยู่ใกล้กับขอบใบตรงด้านท้องใบ กลุ่มอับสปอร์จะอยู่ห่างจากขอบใบประมาณ 1 มิลลิเมตร ลักษณะเป็นรูปรี ประกอบด้วย 7-12 อับสปอร์ ผนังเชื่อมติดกัน ไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์
  • หัวว่านกีบแรด มีลักษณะคล้ายกับกีบเท้าของแรดหรือกระบือ หัวเป็นสีน้ำตาลแก่ เมื่อนำมาหักดูภายในจะเป็นสีเหลืองคล้ายขมิ้น และมีรสเย็นฝาด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : หัว

สรรพคุณ ว่านกีบแรด :

  • หัว  แก้ไข้กาฬ กาฬมูตร พิษกำเดา พิษฝีกาฬ ฝีหัวคว่ำ รักษาแลในปากและคอ น้ำหลายเหนียว เข้ายาซางเด็กและพิษไข้ รักษาโรคตา
Scroll to top