วัวซัง

วัวซัง (หนามวัวซัง)

ชื่อสมุนไพร : วัวซัง
ชื่ออื่นๆ :
หนามวัวซัง, หนามวัวซัง, หางนกกะลิง, ผีไหว้าดาด, หางนกกี้, หนามเกี่ยวไ ก่, งัวซัง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capparis sepiaria Linn.
ชื่อวงศ์ : CAPPARACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นวัวซัง ไม้พุ่มเตี้ย สูง 2 ถึง 4 เมตร หรือกึ่งไม้เลื้อย กิ่งอ่อนค่อนข้างซิกแซก กลม สีเขียว มีกิ่ง แขนงมาก กิ่งอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย ต้นแก่สีเขียวแกมเทา ลำต้นมีหนาม stipule spine ข้อละ 2 อัน หนามโค้ง กลับ ยาว 2-6 มม.
    วัวซัง
  • ใบวัวซัง ใบเดี่ยว เรียงตัวแบบสลับ ใบรูปไข่ รูปรี หรือรูปขอบขนาน โคนใบมนหรือค่อนข้างแหลม ปลาย ใบมนหรือค่อนข้างแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนเรียบ ด้านท้องใบมีขนสากมือ ใบกว้าง 2-5 ซม. ยาว 2.5-8 ซม. ก้านใบยาว 3-6 มม. ก้านใบอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย สีใบเขียวแกมเหลือง
  • ดอกวัวซัง ดอกเดี่ยวแบบ subumbel เกิดที่ปลายกิ่ง 7-15 ดอก บางครั้งเกิดที่ซอกใบ ก้านดอกยาว 2-3 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางดอกบาน 1.5-2.5 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียว โคนติดกันปลายแยกเป็น 4 แฉก กลีบกว้าง 3-4 มม. ยาว 4-5 มม. กลีบมีขนเล็กๆปกคลุม กลีบดอก 4 กลีบ สีขาว กลีบ กว้าง 1-3 มม. ยาว 5-7 มม. กลีบรูปขอบขนานหรือ รูปไข่กลับปลายมนเรียวเล็กไปโคนกลีบ มีขนเล็กๆที่โคนกลีบ เกสรเพศผู้ จำนวนมาก แยกกัน ก้านชูอับเรณูยาว 2-3 ซม. อับเรณูสีเขียวแกมเหลือง เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ superior ovary มีก้านชูรังไข่(gynophore) ยาว 5-10 มม. ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเป็นตุ่ม รังไข่รูปกลมหรือรี 1 ห้อง ovule จำนวนมาก
  • ผลวัวซัง และเมล็ด ผลสดแบบ berry รูปกลมหรือรี เส้นผ่าศูนย์กลางผล 4-10 มม. ผลแก่สีเหลือง ก้านผล ยาว 2-4 ซม.

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น

สรรพคุณ วัวซัง :

  • ทั้งต้น รสขมเฝื่อน แก้ไข้ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับพิษเลือด พิษน้ำเหลือง บำรุงร่างกาย แก้โรคผิวหนัง
Scroll to top