ระย่อม

ระย่อม

ชื่อสมุนไพร : ระย่อม
ชื่ออื่น ๆ
: ระย่อม(ภาคกลาง),ย่อมตีนหมา (ภาคเหนือ) , เข็มขาว , เข็มแดง (ภาคอีสาน) , กะย่อม (ภาคใต้) ,ปลายข้าวสาร (กระบี่) , ละย่อม (สุราษฎร์ธานี),กอเหม่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) , สะมออู , มะโอ่งที , ตูมคลาน (กะเหรี่ยงกาญจนบุรี) ,อินตู้หลัวฟูมุ , เสอเกินมุ (จีน)
ชื่อสามัญ : Serpent wood ,  Rauvolfia ,  Indian snake roots
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rauvolfia serpentina (L.) Benth. ex Kurz
ชื่อวงศ์ :   APOCYNACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นระย่อม เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร จัดเป็นไม้ผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง ลำต้นคดงอ เป็นสีน้ำตาลอมเทา เมื่อสะกิดให้เกิดแผลจะมียางสีขาวออกมา รากใต้ดินมีขนาดใหญ่กว่าลำต้นและจะมีรอยแผลใบอยู่ทั่วลำต้น
    ระย่อม
  • ใบระย่อม เป็นใบเดี่ยว ใบออกดอกหนาทึบ โดยออกเรียงตรงข้ามกัน หรือออกเรียงรอบข้อ โดยจะมีข้อละ 3 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปหอกใหญ่ ขอบใบเรียบปลายใบแหลม โคนใบสอบ ใบกว้างประมาณ 4-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-20 เซนติเมตร แผ่นใบหนา เรียบมันสีเขียวเข้ม
  • ดอกระย่อม ดอกเป็นช่อที่บริเวณปลายกิ่งและปลายยอดโดยจะออกเป็นกระจุก ลักษณะคล้ายดอกเข็ม โดยในแต่ละกระจุกจะมีดอกย่อย ประมาณ 5-50 ดอก โดยโคนกลีบดอกจะเป็นหลอดสีแดง ชมพู ส่วนกลีบ ดอกเป็นสีขาว มี 5 กลีบ และจะมีกระเปาะเล็กๆตรงกลางหลอด ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นสีขาวแกมเขียว พอดอกโรยจะเปลี่ยนเป็นสีแดง
  • ผลระย่อม ผลอ่อนจะเป็นสีเขียว ส่วนผลสุกจะเป็นสีดำ ผลนั้นจะมีลักษณะเป็นผลแฝดติดกันตรงโคนด้านใน และจะอุ้มน้ำ ผลจะมีความยาวประมาณ 1-1.8 ซม.

ส่วนที่ใช้เป็นยา : รากสด, รากแห้ง, น้ำจากใบ, ดอก, เปลือก, กระพี้

สรรพคุณ ระย่อม :

  • รากสด  เป็นยารักษาหิด แก้พิษแมลงกัดต่อย แก้ผดผื่นคัน
  • รากแห้ง เป็นยาเย็นมีรสขม  เป็นยาลดความดันโลหิตสูง เป็นยากล่อมประสาท ทำให้ง่วงนอน และอยากอาหาร ช่วยขับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้พิษกาฬ แก้บิด แก้ท้องเสีย ท้องเดิน ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ ขับระดูในสตรีบำรุงความกำหนด ช่วยให้ระบาย
  • เปลือก  แก้ไข้พิษ แก้ไข้สันนิบาต
  • กระพี้  บำรุงโลหิต
  • ดอก  แก้โรคตาแดง แก้โรคตา น้ำจากใบ  ใช้รักษาโรคแก้วตามัว
Scroll to top