มังตาล

มังตาล

ชื่อสมุนไพร : มังตาล
ชื่ออื่นๆ :
คายโซ่ จำปาดง พระราม (เลย, หนองคาย), บุนนาค (นครราชสีมา, ตราด), กาโซ้ (ยะลา, นครพนม), คาย ทะโล้ สารภีป่า สารภีดอย (ภาคเหนือ), กรรโชก (ภาคอีสาน), พังตาน พันตัน (ภาคใต้), ทะโล้ (คนเมือง), ไม้กาย (ไทใหญ่), เส่ยือสะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กรึ๊สะ เต่อครื่อยสะ ตื้อซือซะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), หมูพี (เงี้ยงเชียงใหม่), ลำโคระ ลำพิโย๊วะ ลำคิโยะ (ลั้วะ), ตุ๊ดตรุ (ขมุ), มือแดกาต๊ะ (ภาคใต้ มาเลเซีย)
ชื่อสามัญ : Needle wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schima wallichii choisy
ชื่อวงศ์ : THEACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นมังตาล เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรงสูงประมาณ 15-25 เมตร ขนาดวัดรอบลำต้นได้ถึง 1.5 เมตร เปลือกนอกขรุขระแลมักแตกเป็นร่องลึกตามยาว สีทาปนน้ำตาลอ่อน เปลือกในสีน้ำตาลอมแดง มีเสี้ยนละเอียดสีขาว เป็นพิษต่อผิวหนัง
    มังตาล
  • ใบมังตาล เป็นใบเดี่ยวรูปหอก ออกตามปลายกิ่งสลับกันไปและมักติดเป็นกระจุกตามปลายๆกิ่ง โคนและปลายใบสอบเรียว ขอบใบเรียบหรือบางที่หยักตื้นๆตามขอบ หลังใบมักมีสีเขียวเข้ม ท้องใบและเส้นกลางใบมีขนขึ้นประปราย
  • ดอกมังตาล สีขาวหรือขาวนวล ออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ กลิ่นหอม ก้านดอกยาว กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีจำนวนเท่ากันอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกล่างมักเล็กกว่ากลีบอื่น เกสรผู้มีจำนวนมาก สีเหลือง เกสรเมียมีอันเดียวสั้น
  • ผลมังตาล ค่อนข้างกลม ผิวแข็งโตประมาณ 2.5-3 ซม. เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลเข้มและจะแตกออกตามรอยประสาน เป็น 4-5 เสี่ยง แต่ละส่วนมีเมล็ด 4-5 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอก, เปลือกต้น, ผล, ต้นและกิ่งอ่อน

สรรพคุณ มังตาล :

  • ดอก  ชงดื่มแก้ขัดเบา แก้ชัก แก้ลมบ้าหมู ผสมน้ำมันทาแผลฝีดาษ
  • ต้น  และกิ่งอ่อน รสเมาเบื่อ แก้คลื่นเหียนอาเจียน ตำหยอดหูแก้ปวดหู
  • เปลือกต้น  และผล  รสเมาเบื่อ ระคายเคืองผิวหนัง ทำให้คัน ใช้เเบื่อปลา
Scroll to top