มะไฟกา

มะไฟกา

ชื่อสมุนไพร : มะไฟกา
ชื่ออื่นๆ
:  มะไฟกาแดง, ส้มไฟป่า, ส้มไฟดิน, มะไฟเต่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baccaurea scortechinii Hook.f.
วงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • มะไฟกา ไม้ยืนต้นสูงประมาณ 6-10 เมตร เปลือกลำต้นสีเทาอ่อนปนน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ บางๆ
  • ใบมะไฟกา ใบเดี่ยวเรียงตัวตรงกันข้าม ออกรวมกันเป็นกลุ่มตามปลายกิ่งข้อต่อระหว่างโคนใบกับก้านใบจะบวมพอง ใบรูปไข่กลับปนขอบขนาน (obovate-oblong) ปลายใบแหลม (acute) ฐานใบสอบเว้า (cuneate) ขอบใบเรียบ (entire) ใบเกลี้ยงทั้งสองด้านใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ขนาดใบกว้างประมาณ 5-7 ซม. ยาวประมาณ 10-16 ซม.
  • ดอกมะไฟกา ดอกไม่สมบูรณ์เพศมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่คนละต้นกัน (dioecious plant) ออกเป็นช่อแบบ raceme โดยจะออกบริเวณลำต้นและกิ่ง ช่อดอกเพศผู้ยาวประมาณ 10-12 ซม. กลีบเลี้ยงมี 4-5 กลีบ ไม่มีกลีบดอก มีขน (tomentose) สีขาวปกคลุมดอกเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยงมี 4-5 กลีบ ไม่มีกลีบดอก รังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก (superior ovary) มีขนอ่อนนุ่ม (silkly) ปกคลุม ก้านชูยอดเกสรตัวเมีย (style) มี 3 อัน ยอดเกสรตัวเมีย (stigma) แยกออกเป็น 2 แฉก รังไข่มี 3 ห้อง (locule)
  • ผลมะไฟกา ผลสดเป็นแบน (berry) มี 3 ห้อง แต่ละห้องมี 1 เมล็ด ผลรูปร่างกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ซม. ผลแก่มีสีแดงอมม่วง เปลือกหุ้มมีลักษณะเหนียวและหนา เนื้อหุ้มเมล็ดมีสีเหลืองอ่อนรสเปรี้ยว เมล็ดรูปร่างกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม.

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล, ราก

สรรพคุณ มะไฟกา :

  • ผลอ่อน  มีรสเปรี้ยวอมฝาด ใช้บริโภคเป็นผักสด
  • ผลสุก  บริโภคเป็นผลไม้สด ช่วยขับเสมหะ รักษาอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ราก  ต้มน้ำดื่ม บำรุงร่างกาย แก้ไอ แก้ปวดท้อง โรคกระเพาะอาหาร อาหารไม่ย่อย หรืออาหารเป็นพิษ ท้องเสีย

Scroll to top