มะคำดีควาย

มะคำดีควาย

ชื่อสมุนไพร : มะคำดีควาย
ชื่ออื่น ๆ
: ประคำดีควาย, ประคำดีกระบือ, ส้มป่อยเทศ(เชียงใหม่), ชะแซ(กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), คำดีควาย(ใต้), มะซัก(เหนือ)
ชื่อสามัญ : Soap Nut Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sapindus rarak A.DC.
ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • มะคำดีควาย ไม้ต้น สูง 10-30 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว
    มะคำดีควาย
  • ใบมะคำดีควาย เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 2-4 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 5-7 ซม. ยาว 10-14 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว
  • ดอกมะคำดีควาย ดอกแยกเพศ อยู่ต้นเดียวกัน ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวนวล กลีบดอกมี 5 กลีบ ก้านช่อดอกมีขนปกคลุม
  • ผลมะคำดีควาย รูปทรงกลม ผิวเรียบ หรือมีรอยย่นที่ผลบ้าง ผลสดสีเขียว เมล็ดเดี่ยว

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผลแก่ และตากแดดจนแห้ง, ใบ, ราก, ต้น, เปลือก, ดอก, เมล็ด

สรรพคุณ มะคำดีควาย :

  • ลแก่  แก้ไข้ ดับพิษร้อนภายใน ดับพิษทุกอย่าง แก้ไข้แก้เลือด แก้หอบเนื่องจากปอดชื้น ปอดบวม แก้กาฬ แก้โรคผิวหนัง แก้พิษตานซาง แก้เสลดสุมฝีอันเปื่อยพัง แก้จุดกาฬ ผลผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ รักษาโรคตัวร้อนนอนไม่หลับ นอนสะดุ้งผวา แก้สลบ แก้พิษ หัด สุกใส แก้ฝีเกลื่อน แก้ปากเปื่อย แก้สารพัดพิษ สารพัดกาฬ แก้ไข้จับเซื่องซึม แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สารพัดไข้ทั้งปวง
  • บ  แก้พิษกาฬ ดับพิษกาฬ
  • าก  แก้ริดสีดวงมองคร่อ แก้หืด รากผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้แก้ฝีในท้อง
  • ้น  แก้ลมคลื่นเหียน
  • ปลือกต้น  แก้กระษัย แก้พิษร้อน แก้พิษไข้ เปลือกต้นผสมในตำรับยากับสมุนไพรอื่นใช้แก้ฝีหัวคว่ำ ฝีอักเสบ
  • อก  แก้พิษ เม็ดผื่นคัน
  • มล็ด  แก้โรคผิวหนัง
Scroll to top