พญามือเหล็ก

พญามือเหล็ก

ชื่อสมุนไพร : พญามือเหล็ก
ชื่ออื่นๆ
: พญามูลเหล็ก, ย่ามือเหล็ก (กระบี่), กะพังอาด, เสี้ยวดูก (เหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strychnos lucida R.Br
ชื่อสามัญ : STRYCHNACEAE

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ :

  • พญามือเหล็ก เป็นไม้เถายืนต้นขนาดกลาง เปลือกต้นสีเขียวหม่น ลำต้นจะมีความสูงมาก เกิดตามป่าดงดิบเขา ป่าเบญจพรรณ
    พญามือเหล็ก
  • ใบพญามือเหล็ก ใบเดี่ยวรูปไข่ปลายแหลม ขอบและผิวมันคล้ายใบแสลงใจ แต่ใบเรียวและบางกว่าใบแสลงใจ มีเส้นใบหลักสามเส้น จะออกตรงข้ามกัน แต่ไม่มีใบเลี้ยง ลักษณะใบจะโตเป็นรูปไข่ ผิวใบเป็นมันมีความยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร
    พญามือเหล็ก
  • ดอกพญามือเหล็ก จะออกเป็นช่อสวยงามมาก
    พญามือเหล็ก
  • ผลพญามือเหล็ก กลมขนาดผลส้ม เมล็ดคล้ายเมล็ดแสลงใจ จะมีลักษณะกลมโตเท่าผลส้มเกลี้ยง เป็นสีเหลืออ่อนแกมสีน้ำตาล ส่วนเมล็ดนั้นจะมีลักษณะคล้ายก้อนกรวดโต ประมาณ 2.5 เซนติเมตร และมีขนสีน้ำเงินปกคลุม เมล็ดจะมีรสขมมาก และถ้าแก่จะแข็งมาก
    เมล็ดพญามือเหล็ก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : แก่น, เนื้อไม้, เมล็ด, ใบ, เปลือก

สรรพคุณ พญามือเหล็ก :

  • แก่นและเนื้อไม้  รสขมเมาเล็กน้อย  ดับไข้จับสั่น ดับพิษไข้ แก้กระษัย แก้โลหิต ลดความร้อน ฝนทาศีรษะ แก้รังแค
  • ราก รสขมเมา แก้ไข้เรื้อรัง แก้ไข้มาลาเรีย
  •  เมล็ด แก้อหิวาตกโรค เป็นยาบำรุง แก้อัมพาต กระตุ้นประสาทไขสันหลัง เป็นยาเบื่อหนู สุนัข กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
  • ใบ รสขมเมาแก้ฟกบวม
  • เปลือก แก้อหิวาตกโรค เป็นยาบำรุง แก้อัมพาต กระตุ้นไขสันหลัง
  • ไม่ระบุส่วนที่ใช้ ตัดไข้ ดับพิษกระษัยโลหิต เป็นยาอยู่ไฟ ดับพิษไข้ ดับพิษโลหิตไข้จับสั่นเรื้อรัง แก้ปวดบวม แก้ไข้เพื่อดี แก้ละเมอเพ้อพก

สารเคมี : Brucine, polyneuridine, mucusine B

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

ทำให้ชัก เสริมฤทธิ์บาร์บิทูเรต คลายกล้ามเนื้อลายผ่านประสาทส่วนกลาง คลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้ กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้ กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะและมดลูก ลดความดันโลหิต ต้านเชื้อมาลาเรีย ต้านแบคทีเรียเป็นพิษต่อเซลล์ การให้สารสกัดเอธานอล 90% ขนาด 200 มก/กก โดยกรอกทางปากในหนูถีบจักรเพศผู้เป็นเวลา 4 วัน พบความเป็นพิษและทำให้น้ำหนักลด

อื่น ๆ : เนื้อไม้นี้ พวกที่ชอบสูบกัญชามักใช้ทำเป็นเขียงรองหั่นกัญชา แล้วขูดเนื้อไม้ผสมลงไปด้วย กล่าวกันว่ามีฤทธิ์กัดเสมหะ ในลำคอได้ดีมาก

Scroll to top