ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน

ชื่อสมุนไพร : ผักเสี้ยน
ชื่ออื่นๆ :
ผักเสี้ยนขาว, ผักเสี้ยนไทย, ผักเสี้ยนบ้าน, ผักเสี้ยนตัวผู้ (ภาคกลาง), ส้มเสี้ยน, ผักส้มเสี้ยน (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cleome gynandra L.
ชื่อวงศ์ : CAPPARIDACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ผักเสี้ยน เป็นไม้ล้มลุก มีความสูงประมาณ 30-15 เซนติเมตร ส่วนต่าง ๆ ของต้นมีขนปกคลุม
    ผักเสี้ยน
  • ใบผักเสี้ยน เป็นใบประกอบมี 3-5 ใบย่อย ก้านใบยาว 3-8 ซม. ใบย่อยรูปไข่กลับหรือรูปใบหอกกลับ ยาว 2.5-5 ซม. ปลายแหลม โคนเรียวสอบ ขอบใบจักฟันเลื่อยละเอียด ใบประดับจำนวนมาก คล้ายใบ มี 3 ใบย่อย ยาว 0.5-2.5 ซม. มีก้านสั้นๆ
  • ดอกผักเสี้ยน เป็นช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง ยาว 5-20 ซม. ขยายอีกในช่อผล ดอกจำนวนมาก ก้านดอกยาว ผักเสี้ยน1-2 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปใบหอก ยาวได้ประมาณ 6 มม. ติดทน กลีบดอก 4 กลีบ สีขาวหรืออมม่วง ก้านกลีบเรียว ยาวได้ประมาณ 5 มม. แผ่นกลีบรูปรีหรือรูปไข่ ยาวได้ประมาณ 7 มม. เกสรเพศผู้ 6 อัน ติดบนก้านชูเกสรร่วมที่ยาว 0.8-2.3 ซม. ก้านเกสรสีม่วง ยาว 1-2 ซม. อับเรณูสีเขียวอมน้ำตาล รูปขอบขนาน ยาว 1-3 มม. ก้านรังไข่สั้นๆ ยาว 1-2 มม. ยื่นยาว 1-1.4 ซม. ในผล รังไข่รูปทรงกระบอกสั้นๆ ยาว 2-3 มม. ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเป็นตุ่ม ติดทน
  • ผลผักเสี้ยน แบบแคปซูล สีเขียว เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ยาว 4-9.5 ซม. เมล็ดจำนวนมาก ผิวมีรอยย่น สีผักเสี้ยนน้ำตาลแดงปนดำ ยาวประมาณ 1.5 มม.

 

 

 

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ราก, ใบ, ดอก, เมล็ด

สรรพคุณ ผักเสี้ยน :

  • ทั้งต้น เป็นยาแก้พิษแมงป่องต่อยและงูกัด โลหิตระดูเน่าเสีย ปรุงเป็นยาขับหนองฝี
  • ราก  เป็นยากระตุ้น แก้เลือดออกตามไรฟัน ต้มกินเป็นยาแก้ไข้ ปรุงเป็นยาแก้โรคผอมแห้งในสตรีจากที่คลอดบุตรแล้วอยู่ไฟไม่ได้
  • ใบ  เป็นยาแก้ปัสสาวะพิการ ขับเสมหะ ช่วยย่อย ทาถูนวดแก้ปวดเมื่อย เป็นยาพอกฝี พอกแก้ปวดเส้นประสาท ไขข้ออักเสบ แก้เริม งูสวัด น้ำคั้นผสมกับน้ำมันหยอดหู
  • ดอก  เป็นยาฆ่าเชื้อโรค
  • เมล็ด เป็นยาขับพยาธิไส้เดือน ชงน้ำดื่มเป็นยาขับเสมหะ

*พืชสดมีกลิ่นคล้ายกลิ่นกัญชา มีสารพิษไฮโดรไซยาไนด์ จึงนิยมนำมาดอกเป็นผักดองจึงรับประทานได้

Scroll to top