ผักเบี้ย

ผักเบี้ย

ชื่อสมุนไพร : ผักเบี้ย
ชื่ออื่นๆ :
ผักเบี้ยน้อย, ผักเบี้ยเล็ก, พรมมิแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trianthema triquetra var. triquetra Rottl. ex Willd.
ชื่อวงศ์ : AIZOACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ผักเบี้ย เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเตี้ย แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณโคนต้น ส่วนกิ่งที่แตกนั้นจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามดินปนทรายทั่วไป
    พรมมิแดง ผักเบี้ย
  • ใบผักเบี้ย ใบออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปเรียวแคบ โคนก้านใบแผ่ออกเป็นกาบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.05-0.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.15-0.7 เซนติเมตร ก้านใบมีขนาดสั้น
  • ดอกผักเบี้ย ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ กลีบดอกมีประมาณ 5 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่สลับกันกับกลีบดอก
  • เมล็ดผักเบี้ย (ผล) ออกผลเป็นฝัก ฝักมีขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 2 เมล็ด เมล็ดเป็นสีดำและมีลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไต

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ใบ, ดอก

สรรพคุณ ผักเบี้ย :

  • ทั้งต้น จะมีรสเย็น และขมเล็กน้อย ใช้เป็นยาขับเลือด ใช้ดับพิษไข้หัว เช่น รักษาไข้อาการกระหายน้ำ อาการร้อนใน เป็นฝีดาด ส่วนมากจะใช้ปรุงเป็นยาเขียวดับพิษร้อนทั้งปวง
  • ใบ ใช้เป็นยาขับเสมหะ
  • ดอก  ใช้รักษาโรคเลือดประจำเดือนที่จางใส

เอกสารอ้างอิง

  1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “พรมมิแดง”.  หน้า 532-533.
Scroll to top