ผักคราดทะเล

ผักคราดทะเล

ชื่อสมุนไพร : ผักคราดทะเล
ชื่ออื่นๆ :
  เบญจมาศน้ำเค็ม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wedelia biflora DC.
ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นผักคราดทะเล จัดเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งเลื้อยทอดยอดคลุมพื้นดิน สูงได้ประมาณ 1.5-5 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ต้นไม่เป็นระเบียบ ลำต้นมีลักษณะเป็นสัน ตามลำต้นมีขนขึ้นกระจายปกคลุมอยู่ทั่วไป มีรากฝอยแตกออกตามข้อรอบลำต้นที่สัมผัสดิน ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อนเร็วเล็ก มีกิ่งมาก ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบอยู่ในที่ชื้น ชอบดินทรายหรือดินร่วนปนทราย มักพบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ริมน้ำ หรือตามป่าชายเลนทั่วไป
  • ใบผักคราดทะเล ออกใบเดี่ยว เป็นรูปไข่ ใบที่อยู่ด้านบนจะมีขนาดเล็กกว่าใบที่อยู่ด้านล่างปลายใบจะผักคราดทะเลแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยห่าง ๆตามผิวใบจะมีขนแข็งปกคลุมทั้งสองด้าน เนื้อใบนุ่ม ๆ อุ้มน้ำใบมีสีเขียวขนาดกว้างประมาณ 1-3.5 นิ้ว ยาว 3-5.5 นิ้ว

 

 

  • ดอกผักคราดทะเล ออกดอกเป็นช่อบริเวณส่วนปลายของลำต้น แต่ส่วนมากแล้วจะออกเป็นดอกเดี่ยวมากกว่า โดยดอกจะเป็นสีเหลือง เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ กลีบดอกเป็นรูปท่อ ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ปลายกลีบจักเป็นแฉก 5 แฉก เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-1 นิ้ว ส่วนก้านดอกยาวได้ประมาณ 0.5-3 นิ้ว
  • ผลผักคราดทะเล มีสีน้ำตาลเข้ม แห้ง และส่วนปลายผลจะตัด โคนผลสอบแคบ มีสันอยู่ 3 สัน และมีขนแข็งที่ตอนบนของผล ยาวประมาณ 3-3.5 มิลลิเมตร

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ทั้งต้น, ราก, ดอก

สรรพคุณ ผักคราดทะเล :

  • ทั้งต้น น้ำต้มกินเป็นยาแก้ปวดหัว และเป็นไข้ แก้มาลาเรีย
  • ราก  ต้มเป็นยาขับระดู ขับปัสสาวะ แก้โรคโกโนเรีย พอกแผลและโรคหิด
  • ใบ ตำเป็นยาพอกผิวหนังด่าง แผลถูกของมีคมบาด แก้ท้องผูก ต้มเป็นยาขับปัสสาวะ
  • ดอก เป็นยาถ่ายอย่างแรง ใบแก่และลำต้น เป็นพิษ สัตว์กินทำให้อาเจียนและตาย

นิเวศน์วิทยา : พบขึ้นทั่วไปตามหาดทราย หรือ ด้านหลังป่าชายเลน ริมฝั่งน้ำทุ่งนา

Scroll to top