ผักกาดหัว

ผักกาดหัว

ชื่อสมุนไพร : ผักกาดหัว
ชื่ออื่นๆ :
ไช่เท้า, ไช้เท้า, หัวผักกาดขาว, ผักกาดจีน, ผักขี้หูด, ผักเปิ๊กหัว, ไหล่ฮก, จี๋ซ้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Raphanus sativus Linn.
ชื่อวงศ์ : Cruciferae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ผักกาดหัว เป็นพืชจำพวกผัก มีรากสะสมอาหารลักษณะทรงกระบอกใหญ่ยาว สีขาวหรือสีอื่น ต้นสูงประมาณ 1 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก
  • ใบผักกาดหัว แตกออกจากโคนต้นเป็นกอ ยาว 12-12 ซม. ตัวใบใหญ่ปลายใบมน ขอบใบมีรอยเว้าลึก 4-6 ผักกาดหัวคู่ทั้ง 2 ข้าง ขอบใบมีรอยหยักคล้ายฟัน ก้านใบลักษณะสามเหลี่ยม ขอบมนใบที่ออกจากต้นที่ชูสูงขึ้นจะมีขนาดเล็กลง ใบรูปไข่กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 3-5 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบมีรอยหยักตื้น ๆ หรือแทบไม่มีเลย โคนใบมีก้านสั้น ๆ หรือแทบไม่มี

 

  • ดอกผักกาดหัว ออกเป็นช่อจากปลายก้านดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียวเป็นแผ่นยาวปลายมนกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ เป็นแผ่นยาวปลายมนกลมสีม่วงอ่อนหรือสีชมพู ส่วนโคนกลีบดอกสีขาว มีเกสรตัวผู้ 4 อัน และเกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่ลักษณะเป็นฝักยาวกลม
  • ผลผักกาดหัว เป็นฝักยาวมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดกลม แบนเล็กน้อยมีสีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มม.

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ทั้งต้น, ดอก, เมล็ด, หัว

สรรพคุณ ผักกาดหัว :

  • ใบ รสเฝื่อนขม คั้นทาแก้โรคผิวหนังผื่นคัน แผลมีน้ำเหลือง
  • ทั้งต้น รสเฝื่อนขม ต้มดื่มแก้อาหารไม่ย่อย ท้องอืดเฟ้อ แก้เจ็บคอ แก้ต่อมน้ำนมบวม น้ำนมคั่ง ขับปัสสาวะ ละลายกก้อนนิ่ว ระบายท้อง เจริญอาหาร
  • ดอก รสขม ขับน้ำดี
  • เมล็ด รสเผ็ดชุ่มสุขุม คั่วชงน้ำดื่ม ระบายท้อง ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืดแน่น แก้บิด แก้บวม แก้หอบ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ละลายก้อนนิ่ว
  • หัว รสเฝื่อนฉุน คั้นเอาน้ำดื่มจะผสมน้ำผึ้งก็ได้ บำรุงประสาท แก้อาการผิกปกติเกี่ยวกับหลอดลม และทรวงอก แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ตกโลหิตระดู ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี บำรุงกำลัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ ต้มเอาน้ำดื่มแก้ริดสีดวงทวาร แก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ ระบายท้อง สมานลำไส้ บำรุงม้าม ขับลม เรียกน้ำลาย บำรุงโลหิต ทาแก้คัน
Scroll to top