บุก

บุก

ชื่อสมุนไพร :  บุก
ชื่ออื่นๆ : 
บุกคุงคก(ชลบุรี), เบีย, เบือ(แม่ฮ่องสอน), มันซูรัน(ภาคดลาง),  หัวบุก(ปัตตานี), บุกคางคก(ภาคกลาง, เหนือ), บุกหนาม, บุกหลวง(แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ :   Elephant yam, Stanley’s water-tub
ชื่อวิทยาศาสตร์ : 
Amorphophallus campanulatus Bl.ex Dence.(A.paeoniifolius (Dennst.) Nicolson
ชื่อวงศ์ :   ARACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 

  • ต้นบุก เป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน ลำต้นอวบ สูงประมาณ 5 ฟุต เจริญเติบโตในฤดูฝน และพักตัวในฤดูหนาว มีหัวใต้ดินขนาดใหญ่ สีน้ำตาล มีอายุอยู่ได้นานหลายปี ลำต้นกลม อวบน้ำ ไม่มีแก่น ผิวขรุขระ มีลายสีเขียวสีแดง
    บุก
  • ใบบุก เป็นใบเดี่ยว ออกที่ปลายยอด ใบแผ่ออกคล้ายกางร่มแล้วหยักเว้าเข้าหาเส้นกลางใบ ขอบใบจักเว้าลึก ก้านใบยาว 150-180 เซนติเมตร กลม อวบน้ำ
  • ดอกบุก ออกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน บริเวณโคนต้น เป็นแท่งมีลายสีเขียวหรือสีแดงแกมสีน้ำตาลแล้วแต่พันธุ์ ช่อดอกมีกาบหุ้ม ลักษณะเป็นแท่งสีแดงแกมน้ำตาล ก้านช่อดอกสั้น มีใบประดับ รูปกรวยหุ้มช่อดอก ขอบหยักเป็นคลื่น และบานออก ปลายช่อ ดอกเป็นรูปกรวยคว่ำขนาดใหญ่ ยับเป็นร่องลึก สีแดงอมน้ำตาลหรือสีม่วงเข้ม ดอกตัวผู้อยู่ตอนบน ดอกตัวเมียอยู่ตอนล่าง มีกลิ่นเหม็นคล้ายซากสัตว์เน่า
  • ผลบุก รูปทรงรียาว เป็นผลสด เนื้อนุ่ม ผลอ่อนสีเขียว พอสุกเป็นสีเหลือง สีส้มจนถึงแดง มีจำนวนมากติดกันเป็นช่อ หัวบุกมีลักษณะค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 15 เซนติเมตรขึ้นไป เนื้อในหัวสีชมพูสด เหลืองอมชมพู หรือขาวเหลือง ลำต้นใช้ใส่แกงเป็นอาหารได้

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อจากลำต้นใต้ดิน (หัว)

สรรพคุณ บุก :

  • หัวบุก รสเบื่อเมา คัน กัดเสมหะเถาดาน แก้เลือดจับเป็นก้อน หุงกับน้ำมัน ใส่บาดแผล กัดฝ้าและกัดหนองดี เป็นอาหารดูดสารพิษ ขจัดไขมันในเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยระหว่างพักฟื้น และปรุงอาหารรักษาสุขภาพ นำหัวมาต้มกับน้ำ แก้โรคตับ โรคท้องมาน ยากัดเสมหะ แก้ไอ

[su_quote cite=”The Description”]หัวบุกมีสารสำคัญ คือกลูโคแมนแนน เป็นสารประเภท คาร์โบไฮเดรท ซึ่งประกอบด้วย กลูโคลส แมนโนส และฟลุคโตส  กลูโคแมนแนน สามารถลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ ก็เนื่องจากความเหนี่ยว ซึ่งยับยั้งการดูดซึมของกลูโคลสจากทางเดินอาหาร ยิ่งหนืดมาก็ยิ่งมีผลลดการดูดซึมกลูโคลส ดังนั้น กลูโคแมนแนน ซึ่งเหนียวกว่า gua gum จึงลดน้ำตาลได้ดีกว่า จึงใช้แป้งเป็นวุ้นเป็นอาหารสำหรับผู้ป่ายโรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคมีไขมันในเลือดสูง [/su_quote]

Scroll to top