น้อยโหน่ง

น้อยโหน่ง

ชื่อสมุนไพร : น้อยโหน่ง
ชื่ออื่น ๆ
: มะโหน่ง, มะเหนีงแฮ้(ภาคเหนือ), น้อยหน่า(ปัตตานี), เร็งนา(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), น้อยหนัง(ภาคใต้), มะดาก(แพร่), หมากอ้อ(แม่ฮ่องสอน), หนอนลาว(อุบลราชธานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Annona reticulata Linn.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นน้อยโหน่ง เป็นไม้ยืนต้น ที่มีลำต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาโค้งคด เปลือกของต้นอ่อนจะเป็นสีน้ำตาลกระขาว พอแก่เป็นสีเทา ลำต้นสูงประมาณ 6-7 เมตร
  • ใบน้อยโหน่ง ออกใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปหอกขอบขนาน ปลายใบแหลมและเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบ มีสีเขียวเป็นมันแต่ด้านใต้ใบสีจะอ่อนกว่าด้านบน ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-2.5 นิ้วยาว 5-7 นิ้ว
  • ดอกน้อยโหน่ง ออกเป็นช่อ และบางทีก็เป็นดอกเดี่ยว ๆ ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 1-3 ดอก ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับใบ ดอกมีสีเหลืองอมเขียว มี 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบชั้นในกลีบดอกจะเล็กกว่าชั้นนอก ก้านดอกจะห้อยลงยาวประมาณ 2 นิ้ว
  • ผลน้อยโหน่ง ขนาดของผลจะมีขนาดใหญ่กว่าน้อยหน่า ผลรูปกลมหรือรูปทรงหัวใจ ผิวเปลือกบางเรียบน้อยโหน่งแต่เหนียว ไม่มีตาโปนออกมาตามเปลือกเหมือนน้อยหน่า ผลดิบเปลือกมีสีเขียวจางๆปนแดงเรื่อๆ แต่เมื่อสุกจะเป็นสีแดงอมน้ำตาลเข้ม เนื้อข้างในผลหนามีสีขาว มีเมล็ดจำนวนมาก และมีรสหวานแต่ไม่เท่าน้อยหน่า โดยน้อยโหน่งจะได้รับความนิยมในการรับประทานน้อยกว่าน้อยหน่า เนื่องจากผลน้อยโหน่งมีกลิ่นฉุนนั่นเอง

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล, ใบ, ราก, เมล็ด, เปลือกต้น

สรรพคุณ น้อยโหน่ง :

  • ผล ทั้งผลดิบและผลแห้งนั้น เรานำมาปรุงเป็นยารักษาโรคชนิดเดียวกัน แก้โรคท้องร่วง แก้บิด และเป็นยาขับพยาธิใบไม้ นำมาปรุงเป็นยาแก้โรคบิด ถ่ายพยาธิ พอกฝี และถ้านำใบมาคั้นเอาน้ำจะเป็นยาฆ่าเหาได้เป็นอย่างดี
  • ใบ ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และฆ่าเหา
  • ราก  ใช้รักษาโรคเรื้อน
  • เมล็ด เฉพาะทั้งเมล็ดจะเป็นสมานแผล และเป็นยาฆ่าแมลง ส่วนเนื้อในของเมล็ดนั้นกลับเป็นยาพิษอย่างแรง
  • เปลือกต้น  ภายในเปลือกของต้นจะมีสารชนิดหนึ่ง ซึ่งจะเป็นยาห้ามเลือด และเป็นยาสมานแผล
Scroll to top