ตานหม่อน

ตานหม่อน

ชื่อสมุนไพร : ตานหม่อน
ชื่ออื่นๆ :
  ตานค้อน, ตานหม่น, ซ้าหมักหลอด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tarlmounia elliptica (DC.)
ชื่อวงศ์ : Asteraceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นตานหม่อน จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นและพยุงตัวขึ้นไป เปลือกเถาเรียบเป็นสีน้ำตาล ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาวปกคลุมอยู่หนาแน่น ลำต้นแตกกิ่งก้านยาวเรียว แตกลำไต้ใหม่จากลำต้นที่ทอดไปตามพื้นดิน
  • ใบตานหม่อน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือบางครั้งเป็นหยักห่าง ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวเข้ม แผ่นใบเรียบหนาคล้ายหนัง หลังใบเกลี้ยง ส่วนท้องใบมีขนสีเงินหรือสีขาวนวล
  • ดอกตานหม่อน ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่นตามซอกใบหรือที่ปลายยอด ดอกย่อยเป็นสีขาวนวล กลีบดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ จำนวนมาก ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันด้านนอกมีขน
  • ผลตานหม่อน ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก ผลมีสัน 5 สัน เมล็ดล่อนเป็นสีดำ ลักษณะเป็นรูปกระสวย

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ต้น, ทั้งต้น, ราก, ใบ

สรรพคุณ ตานหม่อน :

  • ต้น รสเบื่อเอียน ขับพยาธิ แก้ตานซาง รักษาลำไส้
  • ทั้งต้น รสเบื่อเย็น แก้พิษตานซาง บำรุงเนื้อหนังให้ชุ่มชื้น คุมธาตุ ขับไส้เดือนในท้อง
  • ราก  รสหวานเย็นชุ่ม แก้พิษตานซาง คุมธาตุ ขับพยาธิไส้เดือน บำรุงเนื้อหนังให้สมบูรณ์
  • ใบ มีรสเบื่อ หวานชุ่มเย็น แก้พิษตานซาง บำรุงเนื้อหนังให้ชุ่มชื่น คุมธาตุ ขับไส้เดือนในท้อง
    ใบ ผสมในตำรับยาประสะมะแว้ง ยอดอ่อน ใบอ่อน ลวก ต้ม รับประทานเป็นผัก

บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้ใบตานหม่อน ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในกลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ตำรับ “ยาประสะมะแว้ง”  มีสรรพคุณใช้บรรเทาอาการ ไอ มีเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ

Scroll to top