ตองแตก

ตองแตก

ชื่อสมุนไพร :  ตองแตก,
ชื่ออื่นๆ : 
ตองแต่(ประจวบคีรีขันธ์), ถ่อนดี, ทนดี (ภาคกลาง, ตรัง), โทะโคละ, พอบอเจ๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), นองป้อง, ลองปอม (เลย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Baliospermum montanum  Muell.A
ชื่อพ้อง :  Baliospermum solanifolium  (Burm.) Suresh
ชื่อวงศ์ :   EUPHORBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 

  • ต้นตองแตก เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร แตกแขนงจากโคนต้น ก้านใบเรียวยาว ยาว 2-6 เซนติเมตร ยอดอ่อนมีขน
  • ใบตองแตก เดี่ยวเรียงสลับ มีขนาดและรูปร่างต่างๆ กัน ใบที่อยู่ตามปลายยอดรูปใบหอกหรือรูปรี กว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ใบที่ตามโคนต้นมักจักเป็นพู 3-5 พู รูปขอบขนานแกมรูปไข่ หรือเกือบกลม กว้างประมาณ 7.5 เซนติเมตร ยาว 15-18 เซนติเมตร โคนสอบหรือมน มีต่อม 2 ต่อม ปลายแหลม ขอบหยักแบบฟันเลื่อยห่างๆ ไม่สม่ำเสมอ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3-5 เส้น และออกสองข้างของเส้นกลางใบ ข้างละ 5-8 เส้น เส้นใบด้านล่างเห็นชัดกว่าด้านบน เนื้อบาง
  • ดอกตองแตก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน หรือบนช่อเดียวกัน ช่อดอกเล็กเรียว ยาว 3.5-12 เซนติเมตร ดอกเพศผู้ มีจำนวนมาก อยู่ทางตอนบนของช่อ ดอกมีรูปร่างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 มิลลิเมตร ก้านดอกย่อยเล็กเรียวคล้ายเส้นด้าย ยาว 3-5 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงมี 4-5 กลีบ รูปกลม ไม่มีกลีบดอก ฐานดอกมีต่อม 4-6 ต่อม เกสรเพศผู้มี 15-20 อัน อับเรณูคล้ายรูปถั่ว ดอกเพศเมียออกที่โคนช่อ กลีบเลี้ยงรูปไข่ปลายแหลม ขอบจักร ฐานดอกเป็นรูปถ้วยสั้นๆ รังไข่มี 3 พู ก้านเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก ม้วนออก
  • ผลตองแตก เป็น 3 พู กว้างประมาณ 1 ซม. ยาว 0.8 เซนติเมตร ปลายบุ๋ม มีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ 2 อัน โคนผลกลม มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผลแก่แตกตามยาวที่กลางพู แต่ละพูมี 1 เมล็ด เมล็ด รูปขอบขนาน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, ใบ, เมล็ด, เปลือกต้น

สรรพคุณ ตองแตก :

  • ใบ รสเบื่อขมน้อย ถ่ายพยาธิ แก้ฟกบวม แก้ดีซ่าน
    ต้มน้ำดื่ม เป็นยาถ่าย หรือแช่น้ำดื่ม รักษาโรคหืด
  • เมล็ด รสเบื่อขมน้อย เป็นยาถ่ายอย่างแรง แรงกว่าราก
  • ราก รสจืดเฝื่อนขมน้อย ระบายอ่อนๆ ถ่ายลมถ่ายเสมหะ ไม่ไซ้ท้อง
    ต้มน้ำดื่มหรือฝนน้ำกิน เป็นยาถ่ายที่ไม่รุนแรงนักเหมาะสำหรับคนไข้โรคริดสีดวงทวารที่ใช้ยาดำเป็นยาถ่ายไม่ได้ ถ่ายลมเป็นพิษ (มีอาการผื่นคัน หรือตุ่มหนองที่ผิวหนัง) ถ่ายพิษพรรดึก (อาการต่างๆ ที่เกิดจากท้องผูก ถ่ายเป็นก้อนแข็งคล้ายขี้แพะ) ถ่ายเสมหะเป็นพิษ (เช่น เสมหะเขียวเป็นก้อนหรือบิด)ใช้เป็นยาถ่ายแก้อาการบวมน้ำ แก้ฟกบวม และทำลายพิษอุจจาระให้ตก แก้น้ำดีซ่าน
  • เปลือกต้น ใช้เป็นยาถ่าย

[su_quote cite=”The Description”]เมล็ด ถ้าใช้ภายนอกให้นำเมล็ดมาบดแล้วทา เพื่อช่วยกระตุ้นให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณที่ทานั้น นอกจากนี้ภายในเมล็ดจะมีน้ำมันซึ่งเป็นยารุ ยาถ่ายอย่างแรงถึงกับเป็นน้ำ และนำมาทาแก้ปวดตามข้อได้ [/su_quote]
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ” icon=”arrow”]
ใช้ใบ 2-4 ใบ หรือ ราก 1 หยิบมือ ยาไทยนิยมใช้ราก 1 หยิบมือ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อยรับประทาน[/su_spoiler]

Scroll to top