ซองแมว

ซองแมว

ชื่อสมุนไพร : ซองแมว
ชื่ออื่น ๆ
: ทองแมว, กันจาน(สระบุรี), กระเบี้ยเหลือง(ศรีสะเกษ), คางแมว(กลาง ใต้), ทำเมีย(กาญจนบุรี), จิงจาย (นครศรีธรรมราช), ส้มแมว, นมแมว(ราชบุรี ใต้), ปูฉัง(สตูล), บูฉัง(พังงา), จิงจ้อ(ปัตตานี), ซ้อแมว(ลำปาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Gmelina elliptica Sm.
ชื่อวงศ์ : Labiatae

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นซองแมว เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-4 เมตร ลำต้นตั้งตรง ปลายกิ่งมักห้อยลง กิ่งอ่อนมีขนอุย เมื่อแก่เกลี้ยง ลำต้นอ่อนเปลือกสีเขียว เมื่อแก่เปลือกนอกสีน้ำตาลอ่อน มีหนามแข็ง
  • ใบซองแมว เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่หรือรูปรี หรือรูปวงรีแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 3-10 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมนหรือเกือบกลม ขอบเรียบหรือหยักไม่ชัดเจน แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ด้านบนมีขนสั้นนุ่ม เมื่อแก่เกลี้ยง ด้านล่างมีขนอุยแกมขนสั้นหนานุ่ม มีต่อมประปรายที่ใกล้เส้นแขนงใบที่โคนใบ เส้นแขนงใบข้างละ 6-10 เส้น ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร มีขนอุย
  • ดอกซองแมว แบบช่อแยกแขนงขนาดเล็ก ยาว 2-5 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 6-9 มม. ก้านดอกสั้นมาก ออกที่ปลายกิ่ง ห้อยลง มีขนสั้นหนานุ่ม ใบประดับรูปใบหอก ปลายเรียวแหลม ดอกสีเหลือง ดอกย่อย 17-42 ดอก สมมาตรด้านข้าง ก้านดอกสั้นและอ้วน ยาว 1.5-2.0 มม. มีขนหนาแน่น ผิวด้านนอกมีขน ปลายแยกเป็น 4 แฉก ปลายกลม แฉกบนเว้าตื้น โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดกว้างและเบี้ยว หลอดกลีบรูปทรงกระบอก ปลายหลอดกลีบบานเป็นปากแตร
  • ผลซองแมว สดมีเนื้อ แบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปกระสวยแกมรูปไข่กลับ โคนมน ปลายกลม ผิวเกลี้ยง ผลอ่อนเขียว เมื่อสุกสีเหลือง ฉ่ำน้ำ มีกลีบเลี้ยงติดคงทน สีเขียว ก้านผลยาว 4-6 มม.มีหนึ่งเมล็ด เมล็ดรูปขอบขนานหรือไข่กลับ เกลี้ยง

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, ใบ, ผล

สรรพคุณ ซองแมว : 

  • รากซองแมว รสขมเย็น แก้ตานขโมย แก้วัณโรค แก้พิษฝีภายใน แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้กษัย ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ขับพยาธิ
  • ใบซองแมว รสขม แก้ปวดศีรษะ แก้บวม แก้เหงือกบวม แก้อักเสบ แก้ปวดฟัน ขับพยาธิ ตำพอกแก้ผมร่วง
  • ผลซองแมว รสเปรี้ยวขมร้อน แก้โรคท้องมาน แก้ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ แก้ไอ แก้วัณโรค ทาแผลน้ำกัดเท้า
  • ใบและผลสดซองแมว รสเปรี้ยวขม คั้นน้ำหยอดหูแก้ปปวดหู

[su_quote cite=”The Description”]ใบ ใช้ทานเป็นยาแก้บวม และเป็นยาถ่ายพยาธิ ใช้ต้มเอาน้ำอม หรือบ้วนปาก แก้ปวดฟัน และแก้เหงือกบวม หรือใช้ใบสดตำให้ละเอียด แล้วพอกสุมลงบนศีรษะ ช่วยเป็นยาแก้ปวดศีรษะ และกันผมร่วง เป็นต้น
ใบ และราก นำมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำช่วยรักษาบาดแผล หรือใช้น้ำหยอดหู แก้เจ็บหรือปวดหู [/su_quote]

Scroll to top