คล้า

คล้า

ชื่อสมุนไพร : คล้า
ชื่ออื่นๆ
: แหย่ง(เหนือ), หญ้าเข่าเปียง(น่าน),  ก้านพร้า(ภาคกลาง), บูแมจี่จ๊ะไอย์(มลายู, ปัตตานี), คลุ่ม, คลุ้ม, คล้าก้านแหย่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schumannianthus dichotomus (Roxb.) Gagnep
ชื่อวงศ์ : MARANTACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นคล้าเป็นไม้ล้มลุกหรือเป็นไม้ยืนต้นที่มีเนื้ออ่อน เจริญเติบโตขึ้นเป็นพุ่มหรือเป็นกอและมีอายุหลายปี ลำต้นมีทั้งแบบตั้งตรงและเป็นแบบเลื้อย มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน สามารถแตกหน่อได้ ลำต้นกลมเป็นสีเขียวเข้มออกเป็นข้อ ๆ และมีข้อปล้องยาว หากรวมทั้งก้านและใบจะมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร บ้างว่าสูงประมาณ 2-4 เมตร
  • ใบคล้า เป็นใบเดี่ยว ออกตามข้อ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาวหรือเป็นรูปรียาว ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-20 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-35 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว หลังใบและท้องใบเรียบ มักมีลวดลายและสีสันบนใบที่สวยงาม
  • ดอกคล้าออกเป็นช่อบริเวณยอดอ่อนจากซอกกาบใบ ดอกจะออกเป็นคู่จากกาบรองดอกที่เรียงซ้อนกันเป็นแถวในระนาบเดียวกัน สลับซ้ายขวาจากแกนของช่อดอก หรืออาจจะเรียงสลับกันเป็นวง ดอกคล้าจะเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 3 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก แต่จะมีดอกสมบูรณ์เพศเพียง 1 อัน ส่วนที่เหลือจะเป็นหมันและจะเปลี่ยนรูปไปคล้ายกลีบดอก 1 กลีบ และลักษณะของช่อดอกจะมีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ ได้แก่ แบบช่อแขนง แบบช่อกระจะ แบบช่อเชิงลด และแบบช่อกระจุกอยู่ที่ปลายก้าน โดยดอกย่อยจะเป็นสีขาว มีกลีบดอก 3 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ๆ ปลายกลีบมน ส่วนกลีบรองดอกมี 3 กลีบ ดอกมีขนาดใหญ่และเป็นสีขาวล้วน
  • ผลคล้าผลมีลักษณะกลมเป็นพู 3 พู มีขนาดประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ผลเมื่ออ่อนเป็นสีเขียว พอแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 1-3 เมล็ด บ้างว่าผลมีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะ แต่ไม่ค่อยได้พบนัก ได้แก่ ผลแห้ง ที่เมื่อแก่แล้วจะแตกหรือไม่แตกออก และผลที่มีเนื้อนุ่มและมีเมล็ดประมาณ 1-3 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้า

สรรพคุณ คล้า :

  • เหง้า รสเย็นและเบื่อ ใช้กินเป็นยาแก้ไข้ รักษาอาการพิษไข้ ไข้เหลือง ไข้เหนือ ไข้ปอดบวม ไข้กาฬ ไข้จับสั่น กระทุ้งพิษไข้หัว ไข้รากสาด ไข้หัด ช่วยดับพิษไข้ทั้งปวง แก้เหือดหัด อีสุกอีใส ฝีดาษ ประดง
Scroll to top