ขี้เหล็กเลือด

ขี้เหล็กเลือด

ชื่อสมุนไพร : ขี้เหล็กเลือด
ชื่ออื่น ๆ
: ขี้เหล็กคันชั่ง, ขี้เหล็กตาซี, ขี้เหล็กแดง, ขี้เหล็กยายชีอ ขี้เหล็กปันช่างอ บี้ตะขะ ช้าขี้เหล็ก, ขี้เหล็กแมลงสาบ(เชียงใหม่), มะเกลือเลือด(ราชบุรี), กะแลงแง็น(นราธิวาส), ขี้เหล็กคันชั่ง, ขี้เหล็กแดง(ภาคเหนือ), ขี้เหล็กดง(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ขี้เหล็กป่า(ภาคตะวันออกเฉียงใต้), กะแลงแงน, ขี้เหล็กนางชี, ขี้เหล็กเลือด, ช้าขี้เหล็ก(ภาคใต้), ปี้ตะขะ(ละว้า-เชียงใหม่), แมะขี้เหละที, แมะแคะแหล่ะ(กะเหรี่ยง-แม่ฮองสอน), จี้ลีหลอย(เงี้ยว-แม่ฮองสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna timoriensis (DC.) H.S.Irwin & Barneby
ชื่อวงศ์ : FABACEAE-LEGUMINOSAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นขี้เหล็กเลือด เป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีลักษณะคล้ายขี้เหล็กบ้าน ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 8-15 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลหรือสีเหลืองถึงสีเหลืองทองขึ้นปกคลุม
  • ใบขี้เหล็กเลือด ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ หูใบรูปติ่งหู  มีขนสั้นนุ่ม ปลายใบแหลมสั้นๆ หรือเป็นติ่ง โคนใบกลม แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้านของแผ่นใบ  ส่วนท้องใบเป็นสีแดง
  • ดอกขี้เหล็กเลือด ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงแบบหลวม ๆ โดยจะออกตามซอกใบ ยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร เกลี้ยงหรือมีขน ใบประดับเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร หลุดร่วงได้ง่าย ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายกลม ยาวไม่เท่ากัน โดยจะยาวประมาณ 0.7-1.5 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่มด้านนอก สำหรับกลีบดอกนั้นจะเป็นสีเหลืองสด กลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร โคนกลีบดอกแหลม มีก้านกลีบสั้น ๆ ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน 2 อันมีขนาดใหญ่กว่า ก้านเกสรยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร อับเรณูยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้อีก 5 อัน มีอับเรณูขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย อับเรณูมีช่องเปิดที่ปลาย เกสรเพศผู้ที่ลดรูปจะมี 3 อัน ขนาดยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร รังไข่และก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยง ยอดเกสรมีขนาดเล็ก
    ขี้เหล็กเลือด
  • ฝักขี้เหล็กเลือด รูปแถบ แบน เกลี้ยง แห้งแล้วแตก ยาว 8-16 เซนติเมตร เมล็ดมี 10-30 เมล็ด รูปรี แบน เป็นมันวาว ยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร

ส่วนที่ใช้เป็นยา : แก่น, ใบอ่อน, ดอกตูม

สรรพคุณ ขี้เหล็กเลือด :

  • แก่น ใช้ปรุงเป็นยารักษาโครสตรีที่มีโลหิตระดูเสียและเป็นยาขับล้างโลหิตต่อมายังใช้ เป็นยา บำรุงโลหิตรักษาอาการปวดปั้นเอว ยากษัย ขับปัสสาวะและไปพิการด้วย
  • ใบอ่อนและดอกตูม รับประทานเป็นอาหารได้
Scroll to top