กาสามปีกใหญ่

กาสามปีกใหญ่

ชื่อสมุนไพร : กาสามปีกใหญ่
ชื่ออื่นๆ
: ลิ้นมังกร (จีน) , เกล็ดลิ่นใหญ่(นครราชสีมา) ลูบตีบต้น(เชียงใหม่) กาสามปีกใหญ่(สร) เกล็ดปลา (กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllodium longipes (Craib.) Schindel.
ชื่อวงศ์ : PAPILIONOIDEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกาสามปีกใหญ่ ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 1.5-2.5 เมตร แตกกิ่งก้านโปร่ง ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน ปลายกิ่งย้อยลง
  • ใบกาสามปีกใหญ่ ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยใบกลางรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 8-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ใบย่อยด้านข้าง กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 6-8 เซนติเมตร ใบข้างเล็กกว่าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบมีขน ก้านใบย่อยยาว 1.5-2 เซนติเมตร
  • ดอกกาสามปีกใหญ่ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ ที่ปลายกิ่ง มีใบประดับ ลักษณะคล้ายเกล็ดปลาขนาดใหญ่ประกบหุ้มไว้ 2 ใบ สีเขียวไม่เข้มมาก ประกบซ้อนๆกัน เป็นรูปแท่งห้อยย้อยออกมา กลีบดอกสีขาว รูปดอกถั่ว มีขนาดเล็ก
    กาสามปีกใหญ่
  • ผลกาสามปีกใหญ่ เป็นฝักแบนยาว รูปขอบขนาน คอดเป็นหยักระหว่างเมล็ด 3-5 ข้อ ผิวฝักมีขนปกคลุม  เมื่อแห้งหลุดเป็นข้อๆ เมล็ดเล็ก แข็ง รูปไต

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, เปลือกราก, ใบ

สรรพคุณ กาสามปีกใหญ่ :

  • ราก รสจืดเฝื่อน ต้มดื่มแก้ไข้  แก้โรคตับพิการ (อาการผิดปกติของตับ) ผสมกับรากกระดูกอึ่ง รากกาสามปีก (กาสามปีกเล็ก) รากโมกมัน และรากหางหมาจอก ต้มน้ำดื่ม แก้อาการผอมแห้ง ใจสั่น
  • เปลือกราก รสจืดเฝื่อน ตำพอกแก้ปวด แก้เคล็ดบวม
  • ใบ รสจืด ต้มดื่มแก้ไข้ แก้ปัสสาวะดำ แก้ไข้จับสั่น
Scroll to top