กระดาดดำ

กระดาดดำ

ชื่ออื่น : กระดาดดำ, ปึมปื้อ (เชียงใหม่), ลาดีบูเก๊าะ, เอาะลาย (ยะลา), เมาะดำ, หัวชะออกดำ (ใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alocasia macrorrhiza Schott
ชื่อวงศ์ : ARACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกระดาดดำ เป็นไม้ล้มลุกขนาดใหญ่ สูงกว่า 1 เมตร ลำต้นสั้น อวบ
    กระดาดดำ
  • ใบกระดาดดำ ใบเดี่ยว สีเขียวเข้มหรือม่วง รูปไข่กว้าง กว้าง 25-60 เซนติเมตร ยาว 30-90 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนเว้าลึกแคบๆ คล้ายเงี่ยงลูกศร ขอบเรียบเป็นคลื่นหรือม้วนเข้าข้างใน เส้นแขนงใบข้างละ 8-13 เส้น เห็นเด่นชัด ก้านใบใหญ่ สีเขียวอ่อนอมม่วง ไม่มีลาย ยาว 0.8-1.5 เมตร โคนก้านใบแผ่แบน เรียงสลับซ้อนกันหุ้มรอบลำต้น
    กระดาดดำ
  • ดอกกระดาดดำ ช่อดอกตั้งตรง เป็นแท่งยาวลักษณะคล้ายดอกบอน กลิ่นหอม ยาว 7-10 เซนติเมตร ก้านช่อดอกเล็ก ยาว 30-43 เซนติเมตร ดอกมีกาบสีขาวปลายแหลมหุ้ม ยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร โคนกาบเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีเขียว ระหว่างที่ดอกกำลังบานยาว 2.5-3 เซนติเมตร เมื่อเป็นผลแล้วยาว 4-5 เซนติเมตร ช่อดอกประกอบด้วยดอกเพศเมียติดอยู่บริเวณโคนช่อยาวประมาณ 1.3 เซนติเมตร มักมีจำนวนน้อยกว่าดอกเพศผู้ ส่วนบนมีดอกเพศผู้จำนวนมาก ยาว 1.2-1.5 เซนติเมตร ระหว่างดอกเพศผู้และดอกเพศเมียห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร ปลายสุดค่อนข้างใหญ่ สีเหลืองอ่อนถึงขาวนวล ยาว 3.5-6 เซนติเมตร เป็นส่วนที่ไม่มีดอก ดอกเพศเมียมีรังไข่ 1 ช่อง มีออวุล 5-6 เม็ด ยอดเกสรเพศเมียรูปกลมๆ หนาๆ ดอกเพศผู้มีอับเรณูขนาดเล็ก 3-8 อัน รูปยาวแคบ เชื่อมติดกันคล้ายรูปกรวยฐานหกเหลี่ยม
  • ผลกระดาดดำ เนื้อนุ่ม เมื่อสุกสีส้มหรือแดง รูปรี ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ผิวบาง มี 1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, น้ำจากก้านใบ, ราก, หัว

สรรพคุณ กระดาดดำ :

  • ใบ รสเย็น แก้การอักเสบบวมแดงตามข้อ
  • น้ำจากก้านใบ รสเย็นคั้นรันประทานแก้ไอ
  • ราก รสเย็นจืด ต้มรับประทาน ขับปัสสาวะ ระบายท้อง แก้พิษแมลงป่อง
  • หัว รสเย็นเมา โขลกพอกแผลที่มีหนอง

 

Scroll to top