ไทรย้อย

ไทรย้อย

ชื่อสมุนไพร : ไทรย้อย
ชื่ออื่น ๆ
: ไทรพัน (ลำปาง), ไทร (นครศรีธรรมราช), ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์), ไฮ (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ไทรย้อยใบแหลม (กรุงเทพฯ), จาเรย (เขมร)
ชื่อสามัญ : Benjamin’s fig, Weeping fig
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus Benjamina L.
วงศ์ : MORACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นไทรย้อย เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดกลาง มีลำต้นแตกเป็นพุ่มหนาทึบและแผ่กิ่งก้านสาขาทิ้งใบ ห้อยย้อย ตามลำต้นจะมีรากอากาศแตกย้อยลงสู่พื้นดินเป็นจำนวนมาก มีลำต้นที่สูงใหญ่
  • ใบไทรย้อย เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับข้างกันบนกิ่ง มีลักษณะใบทั้งหนา และบาง แต่เหนียวคล้ายหนัง แผ่นใบเรียบ และเป็นมัน ขอบใบเรียบ หรือ หยักเป็นฟันเลื่อย หรือ เว้าเป็นแฉก บริเวณขอบที่โคนใบมักมีเส้นใบ 3 อัน มาจรดกัน เมื่อเด็ดก้านใบหรือฉีกใบจะมียางสีขาวไหลออกมา
  • ดอกไทรย้อย ดอกของไม้ตระกูลไทรจะออกเป็นช่อ แต่จะมีเพียงดอกเดียวหรือดอกเป็นคู่ เช่น ดอกของไทรย้อยมักออกเป็นดอกเดียวที่ปลายกิ่ง ส่วนดอกมะเดื่อจะออกเป็นช่อ 1-2 ดอก บริเวณกิ่ง และลำต้น โดยดอกจะมีลักษณะกลมที่เจริญเป็นผลกลมในเวลาต่อมา ส่วนเพศของดอกจะออกแยกเพศกันคนละดอก แต่อยู่ในต้นเดียวกัน โดยมีแมลง และแตนเป็นตัวนำเกสรเข้าผสม
  • ผลไทรย้อย ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม สีน้ำตาล สีชมพู สีส้มแดง หรือสีม่วงดำเมื่อแก่ ไร้ก้าน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : รากอากาศ

สรรพคุณ ไทรย้อย :

  • รากอากาศ ยาแก้กาฬโลหิต บำรุงโลหิต แก้ตกโลหิต ยาแก้กระษัย ยาบำรุงน้ำนมให้สมบูรณ์ ช่วยแก้อาการท้องเสีย ยาขับพยาธิ ยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา ขับปัสสาวะให้คล่อง แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะมีสีต่างๆ ช่วยแก้ไตพิการ ช่วยแก้อาการอักเสบหรือลดการติดเชื้อ เช่น ฝีหรือรอยฟกช้ำ
Scroll to top