ชื่อสมุนไพร : โกฐจุฬาลัมพา
ชื่ออื่นๆ : โกฐจุฬาลัมพา, โกฐจุฬาลัมพาจีน, โกฐจุฬา, ชิงฮาว, แชเฮา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artemisia annua L.
ชื่อวงศ์ : Compositae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นโกฐจุฬาลัมพา เป็นไม้ล้มลุก มีอายุเพียงปีเดียว มีความสูงได้ประมาณ 0.7-2 เมตร แตกกิ่งมาก ทั้งต้นมีกลิ่นแรง มีขนขึ้นประปราย หลุดร่วงได้ง่าย
- ใบโกฐจุฬาลัมพา ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ เนื้อใบบาง กว้าง 2-6 ซม. ยาว 3-7 ซม. ขอบใบหยักลึกแบบขนนก 3 (หรือ 4)ชั้น เป็น 5-8 คู่ เส้นกลางใบเด่นชัดบริเวณใกล้แกน
- ดอกโกฐจุฬาลัมพา ดอกช่อสีเหลืองอ่อน ช่อดอกเป็นช่อแยกแขนงรูปพีระมิดกว้าง ช่อแขนงเป็นช่อกระจุกแน่น รูปทรงกลม มีจำนวนมาก อยู่ห่างๆกัน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.5 มิลลิเมตร ก้านดอกย่อยสั้น กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายหยักเป็นฟัน 5 ซี่ มีกลิ่นเฉพาะ
- ผลโกฐจุฬาลัมพา จะเป็นผลแบบผลแห้ง เมล็ดล่อนรูปไข่แกมรี มีขนาดยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบและเรือนยอด(ที่มีดอก)แห้ง
สรรพคุณ โกฐจุฬาลัมพา :
- ใบ และเรือนยอด (ที่มีดอก)แห้ง แก้ไข้เจลียง แก้ไข้เพื่อเสมหะ ไข้มาลาเรีย แก้หืด แก้หอบ แก้ไอ ใช้เป็นยาขับเหงื่อ แก้ดีซ่าน
แพทย์แผนจีน ใช้แก้ไข้อันเกิดจากความร้อนในฤดูร้อน แก้ไข้ต่ำๆที่ไม่มีเหงื่อ แก้ไข้อันเนื่องจากวัณโรค และแก้ไข้จับสั่น แก้ริดสีดวงทวาร
บัญชียาจากสมุนไพร :
ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้โกฐจุฬาลัมพาในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของโกฐจุฬาลัมพาอยู่ในพิกัดโกฐทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง ยาแก้ไข้ ปรากฏตำรับ “ยาจันทน์ลีลา” มีส่วนประกอบของส่วนประกอบของโกฐจุฬาลัมพาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู ตำรับ “ยาเลือดงาม“ มีส่วนประกอบของโกฐจุฬาลัมพาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด