เหงือกปลาหมอ

เหงือกปลาหมอ

ชื่อสมุนไพร: เหงือกปลาหมอ
ชื่ออื่นๆ
 : แก้มหมอ, แก้มหมอเล, จะเกร็ง, นางเกร็ง, อีเกร็ง, เหงือกปลาหมอน้ำเงิน
ชื่อสามัญ : Sea holly
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acanthus ebracteatus Vahl
ชื่อพ้อง : Acanthus ilicifolius L.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเหงือกปลาหมอ ไม้พุ่มล้มลุกขนาดเล็ก สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นกลม กลวง ตั้งตรง สีขาวอมเขียว มีหนามตามข้อ ข้อละ 4 หนาม และที่ปลายใบ ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร
    ต้นเหงือกปลาหมอ
  • ใบเหงือกปลาหมอ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามเป็นคู่ ใบรูปหอกยาว ขอบจักเว้ากว้างๆ ปลายจักแหลมคล้ายหนาม แต่บางครั้งอาจพบใบเรียบ กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร แผ่นใบสีเขียวเข้ม เส้นใบสีขาว มีเหลือบสีขาวเป็นแนวก้างปลา มีหนามรอบใบ แผ่นใบเรียบเป็นมันลื่น เนื้อใบเหนียว ก้านใบสั้น
    เหงือกปลาหมอ
  • ดอกเหงือกปลาหมอ ออกเป็นช่อตั้งสีขาว บริเวณปลายยอด ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ใบประกอบห่อเป็นช่อตั้ง แต่ละดอกมีใบประดับรูปเรียว 2 อัน รองรับที่โคนดอก และติดอยู่จนดอกบาน กลีบดอกเป็นท่อปลายบานโตสีขาว ยาว 2-4 เซนติเมตร แบ่งเป็น 2 ปาก ปากล่างมีขนาดใหญ่กว่า ปากล่างสีม่วงอ่อนหรือฟ้าอ่อน มีแถบสีเหลืองตรงกลางกลีบ ปากบนหดสั้น กลีบเลี้ยง มี 5 กลีบ
    เหงือกปลาหมอ
  • ผลเหงือกปลาหมอ เป็นฝักกลมรี รูปไข่ ยาว 2-3 เซนติเมตร เปลือกสีน้ำตาล ปลายฝักป้าน ผิวเปลือกสีน้ำตาล ข้างในมีเมล็ดขนาดเล็ก 4 เมล็ด
    เหงือกปลาหมอ

ส่วนที่ใช้เป็นยา  : ต้น, ใบ,  ราก, เมล็ด

สรรพคุณ เหงือกปลาหมอ :

  • ต้นทั้งสดและแห้ง แก้แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย เป็นฝีบ่อยๆ
  • ใบ เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดต่าง ๆ รักษาโรคผิวหนัง ขับน้ำเหลืองเสีย
  • ราก ขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืด รักษามุตกิดระดูขาว
  • เมล็ด ปิดพอกฝี ต้มดื่มแก้ไอ ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย

[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : แก้ผื่นคัน” icon=”arrow”]
ใช้ต้นและใบสด 3-4 กำมือ ล้างให้สะอาด นำมาสับ ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน ใช้ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง[/su_spoiler]

Scroll to top