เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต

ชื่อสมุนไพร : เพชรสังฆาต
ชื่ออื่น ๆ
: เพ็ชสังฆาต, สันชะฆาต, เพชรสังฆาต (กรุงเทพฯ), ขันข้อ (ราชบุรี), สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cissus quadrangularis Linn.
ชื่อวงศ์ : VITACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเพชรสังฆาต เป็นไม้เถาเลื้อย เปลือกเถาเรียบ เถาอ่อนรูปสี่เหลี่ยมเป็นครีบ เป็นข้อๆต่อกัน เห็นข้อปล้องชัดเจน ลักษณะเป็นปล้องๆ ตรงข้อเล็กรัดตัวลง แต่ละข้อยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร บางข้ออาจมีรากออกมาด้วย มีมือเกาะออกตรงข้อต่อตรงข้ามกับใบ ตามข้อมียางขาว
    เพชรสังฆาต
  • ใบเพชรสังฆาต ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกตามข้อต้น ข้อละ 1 ใบ กว้าง 3-8 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ใบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือรูปไข่ กลมหนา เล็ก ผิวเรียบ ปลายใบมน โคนใบเว้า หลังใบและท้องใบเรียบเป็นมัน ขอบใบหยักมนห่างๆหรือหยักเว้า 3-5 หยัก  เนื้อใบนิ่ม ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อ ออกตามข้อต้นตรงข้ามกับใบ
  • ดอกเพชรสังฆาต ลักษณะกลมเล็กสีแดงเขียวเป็นช่อขนาดเล็ก ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ดอกย่อยสีเขียวอ่อน มีขนาด 2.5 มิลลิเมตร กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนกลีบดอกด้านนอกมีสีแดง ส่วนกลีบดอกด้านในสีเขียวอ่อน เมื่อบานเต็มที่ดอกจะงองุ้มไปทางด้านล่าง เกสรตัวผู้มี 4 อันวางตรงกับกลีบดอก

 

 

  • ผลเพชรสังฆาต สดรูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ฉ่ำน้ำ  ผลกลมขนาด 4-7 มิลลิเมตร ผลอ่อนสีเขียว พอสุกเป็นสีแดงหรือดำ เมล็ดกลมสีน้ำตาลมี 1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ต้นสด

สรรพคุณ เพชรสังฆาต :

  • ต้นสด (เถา) รสร้อนขมคัน คั้นเอาแต่น้ำดื่ม ใช้เป็นยารักษาโรคลักปิดลักเปิด และมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ และรักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ริดสีดวงทวารหนักทั้งชนิดกลีบมะไฟและเดือยไก่ แก้กระดูกแตกหักซ้น ขับลมในลำไส้
Scroll to top