เบญจมาศเครือ

เบญจมาศเครือ

ชื่อสมุนไพร : เบญจมาศเครือ
ชื่ออื่น ๆ
: เบญจมาศหนู, เบญจมาศป่า(ทั่วไป), กระดุมทองเลื้อย
ชื่อสามัญ : Climbing wedelia, Creeping daisy, Singapore daisy, Trailing daisy
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wedelia trilobata (L.) Hitchc.
ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเบญจมาศเครือ เป็นไม้เลื้อยคลุมดิน ลำต้นแตกแขนงทอดเลื้อยไปตามผิวดิน ปลายกิ่งมักชูตั้งขึ้น ลำต้นสีน้ำตาลแดงเรื่อ มีขนประปราย รากมีลักษณะเป็นรากฝอย ความลึกรากประมาณ 30 เซนติเมตร และสามารถแตกรากตามข้อที่สัมผัสดินได้
  • ใบเบญจมาศเครือ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปรีกว้างหรือรูปไข่ กว้าง 2- 5 เซนติเมตร ยาว 5.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักเล็กน้อย มีจักเป็นรูปสามเหลี่ยมกลางแผ่นใบทั้ง 2 ข้าง ก้านใบสั้นมาก
  • ดอกเบญจมาศเครือ สีเหลือง ออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง มีใบประดับรูปรีเรียงซ้อนกัน 2 ชั้น เบญจมาศเครือชั้นละ4-5 ใบ ที่ขอบใบประดับมีขน ดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมียมี 8-10 ดอก โคนกลีบดอกวงนอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายกลีบแยกเป็น 3 แฉก ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีขนาดเล็กกว่าและจำนวนมากกว่า โคนกลีบดอกวงในเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายกลีบแยกเป็น 5 แฉก

 

  • ผลเบญจมาศเครือ ผลแห้ง รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ปลายยอดผลมีเยื่อสีขาวรูปถ้วย เมล็ดล่อน รูปสามเหลี่ยมปลายแหลม สีดำเป็นมัน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ลำต้นสด, ดอก

สรรพคุณ เบญจมาศเครือ :

  • ใบ  และลำต้นสด นำมาบดให้ละเอียดใช้เป็นยาพอกแผล แก้ฟกช้ำ
  • ดอก รวมถึงลำต้น และใบ นำมาต้มน้ำรับประทาน ช่วยลดไข้ ช่วยย่อยอาหาร ใช้เป็นยาชา ช่วยบรรเทาอาการปวดเหงือก และฟัน
Scroll to top