ชื่อสมุนไพร : เทียนดอก
ชื่ออื่น ๆ : เทียนสวน, เทียนบ้าน, เทียนไทย, เทียน (ไทย), จึงกะฮวย, ห่งเซียง, จี๋กะเช่า เซียวก่ออั้ง (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Impatiens balsamina Linn.
วงศ์ : BALSASMINACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นเทียนดอก เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นอวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-1.5 ฟุต
- ใบเทียนดอก ใบมีลักษณะเป็นรูปเรียวรี โคนใบมน ปลายใบแหลมเรียวริมขอบใบหยักเป็นฟันเลื้อย ผิวเนื้อในสาก หยาบ
- ดอกเทียนดอก มีลักษณะเป็นสีขาว ชมพู แดง ม่วง หรือเป็นสีผสม กลีบดอกคล้ายกลีบดอกกุหลาบ
- ผลเทียนดอก ผลเป็นรูปรี ปลายแหลมยาว มีสีเขียว ผลเมื่อแก่เต็มที่ก็จะแตกหรือดีดตัวออกเป็นเมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นเม็ดกลมเล็ก คล้ายเมล็ดดอกบานเย็น
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ลำต้น, ใบ, ดอก, ราก
สรรพคุณ เทียนดอก :
- ลำต้น ใช้ลำต้นเทียนดอกมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำดื่ม หรือกลืน แก้ก้างปลา หรือ กระดูกติดคอ หรือใช้กากที่ตำใช้พอก ทา บริเวณที่เป็นฝี
- ใบ นำใบสดของต้นเทียนดอกมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาพอก หรือทา แก้เล็บช้ำ เล็บขบ แก้น้ำกัดมือ กัดเท้า แก้ฝีตะมอย หรือนำใบสดมาต้มเอาน้ำใช้สระผมช่วยทำให้ผมดกดำ บำรุงผม ใช้ใบตากแห้งมาตำผสมกับพิมเสนใช้ใส่รักษาแผลเรื้อรัง
- ใบและราก นำมาตำให้ละเอียดแล้ว นำมาพอกแผลที่ถูกเศษแก้วตำเนื้อ หรือใช้รักษา เสี้ยน
- ดอก นำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณแผลที่ถูกน้ำร้อนลวก หรือแผลไฟไหม้