เต่าร้าง

เต่าร้าง

ชื่อสมุนไพร :  เต่าร้าง
ชื่ออื่นๆ : 
เต่าร้างแดง, เชื่องหมู่, มะเด็ง, งือเด็ง, เต่ารั้ง
ชื่อสามัญ :   Fishtail Palm, Wart Fishtail Palm
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  
Caryota mitis Lour.
ชื่อวงศ์ :   PALMCEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเต่าร้าง เป็นพืชตระกูลปาล์ม ที่มีหน่อและขึ้นเป็นกอ พบทั่วไปในป่าดิบทุกแห่ง ชอบขึ้นในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง ต้นเป็นปล้องสูงชะลูดขึ้นไป บางต้นเตี้ย บางต้นสูงถึง 6-12 เมตร ต้นมีกาบหุ้มเป็นเส้นประสานกัน เส้นผ่านศุนย์กลางต้นประมาณ 10 ซม
  • ใบเต่าร้าง เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น  เรียงสลับ  ใบย่อยรูปสามเหลี่ยมหยักเว้า    กว้างประมาณ 13 เซนติเมตร   ยาว 20-30 เซนติเมตร ปลายแหลมคล้ายหางปลา  โคนใบรูปลิ่ม   แผ่นใบสีเขียวเป็นมัน  กาบใบ ยาว 0.5-2 เมตร  โคนกาบใบมีขนสีน้ำตาลแดงปนเทาหรือสีดำ และรยางค์สีน้ำตาลปกคลุม
  • ดอกเต่าร้าง สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบหรือใต้โคนกาบใบ ดอกแยกเพศ อยู่ร่วมต้น ช่อดอกยาว 60-80 เซนติเมตร ดอกบานเต็มที่กว้าง 2 เซนติเมตร
  • ผลเต่าร้าง มีลักษณะเป็นผลกลมเล็ก ๆ เรียงเป็นแถว ผลกลมเท่าปลายนิ้ว เป็นพวงระย้า ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อผลแก่จะมีสีแดงคล้ำถึงดำ ผิวของผลมีขนละเอียดเล็ก ๆ ถ้าได้สัมผัสจะ ทำให้คันมาก เช่นเดียวกับตำแยหรือหมามุ่ย

ส่วนที่ใช้เป็นยา : หัว, ราก

สรรพคุณ เต่าร้าง : 

  • ราก ดับพิษที่ตับ ปอด หัวใจ แก้หัวใจพิการ แก้ตับทรุด
  • หัว ดับพิษที่ตับ ปอด หัวใจ บำรุงตับ แก้กาฬขึ้นที่ตับ แก้ตับทรุด แก้ช้ำใน บำรุงหัวใจ

[su_quote cite=”The Description”]ข้อควรระวัง : ยางของเต่าร้างโดยเฉพาะยางจากผล เมื่อถูกผิวหนังจะเกิดอาการคัน หรือถ้าเข้าตาอาจทำ ให้ตาบอดได้[/su_quote]

Scroll to top