เข้าพรรษา

เข้าพรรษา

ชื่อสมุนไพร : เข้าพรรษา
ชื่ออื่น :
กล้วยจะก่าหลวง ข่าเจ้าคุณวินิจ (ทั่วไป), ว่านสาวหลง (ภาคกลาง), เข้าพรรษา (อุบลราชธานี สระบุรี), กลางคาน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Globba winitii C.H. Wright
ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเข้าพรรษา ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นสูง 50-70 เซนติเมตร
    เข้าพรรษา
  • ใบเข้าพรรษา ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 5.5-20 เซนติเมตร ยาว 15-25 เซนติเมตร โคนใบรูปหัวใจแคบๆ แฉกลึก ปลายใบเรียวแหลม ใบอ่อนมีขนสีขาวเล็กๆ ปกคลุม ก้านใบยาว 5-7 เซนติเมตร ส่วนโคนแผ่เป็นกาบหุ้มซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม
  • ดอกเข้าพรรษา ช่อดอกแบบช่อกระจะ แยกแขนงสั้นๆ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีเหลือง กลีบดอกพัฒนามาจากเกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตร ห้อยโค้งลง ก้านช่อยาว ใบประดับรูปไข่กว้าง รูปขอบขนานหรือรูปใบหอกกลับ สีขาวอมชมพูหรือสีม่วงเข้มรองรับ ยาว 1-3 เซนติเมตร ปลายมน แหลม หรือแหลมยาว ใบประดับย่อยสีขาว แต่ละช่อแขนงมี 2-3 ดอก ใบประดับย่อยสีเดียวกับใบประดับ ขนาดเล็กกว่า กลีบเลี้ยงยาวได้ประมาณ 0.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 3 แฉก หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร กลีบดอกยาวเท่าๆ กัน ยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันติดบนหลอดกลีบดอก รูปใบหอก ยาวเท่าๆ หลอดกลีบดอก กลีบปากติดเหนือเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันประมาณ 1 เซนติเมตร รูปสามเหลี่ยมกางออกสองข้าง ปลายแหลม เกสรเพศผู้ 1 อัน ก้านเกสรโค้งลง ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร หุ้มก้านเกสรเพศเมีย ปลายเกสรเพศผู้แผ่รูปดาว ข้างละ 2 แฉก ก้านเกสรเพศเมียรูปเส้นด้าย ยอดเกสรรูปถ้วย
  • ผลเข้าพรรษา รูปไข่ ยาวประมาณ 0.7 เซนติเมตร มี 3 พู ตื้นๆ ผิวด้านนอกขรุขระ  เมล็ด 6 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้า

สรรพคุณ เข้าพรรษา :

  • เหง้า นำมาใช้เป็นส่วนผสมของยาสระผม สบู่ ใช้ในการรักษาอาการคันตามผิวหนัง
Scroll to top