เกาลัดไทย

เกาลัดไทย

ชื่อสมุนไพร : เกาลัดไทย
ชื่ออื่นๆ :
เกาลัด, เกาลัดเมือง, บ่ากอลัด (คนเมือง), เกาลัดเทียม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sterculia monosperma Vent.
ชื่อวงศ์ : STERCULIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเกาลัดไทย เป็นไม้ต้น สูง 4-30 เมตร เปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กตามยาว


  • ใบเกาลัดไทย ใบเดี่ยว เรียงสลับ มักกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 5-15 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบหนา มัน และเรียบหรือย่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 2-10 เซนติเมตร


  • ดอกเกาลัดไทย ช่อดอกแยกแขนง ออกแขนงจำนวนมาก ตามปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 35 เซนติเมตร ดอกย่อยเล็ก สีชมพูอมเขียว กลีบเลี้ยงโคนติดกัน ปลายผายออกเป็นรูปกรวย แยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกโค้งงุ้มและติดกันบริเวณปลายกลีบ ไม่มีกลีบดอก


  • ผลเกาลัดไทย ผลแห้งแล้วแตก รูปกระสวย เปลือกผลหนา เมื่อแก่จะปริแยกออกจากกัน เมล็ดเกลี้ยง สีน้ำตาลแกมแดง เนื้อในสีขาว กินได้


ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล

สรรพคุณ เกาลัดไทย :

  • ผล ช่วยบำรุงตับ ไต และช่วยลดไขมันในเส้นเลือด เนื้อในเมล็ดเกาลัด อุดมไปด้วยพลังงาน โปรตีน ไขมัน ช่วยรักษาโรคบิด อาเจียน

ข้อมูลเพิ่มเติม :

ตำรายาจีนแนะนำว่า หากกินเกาลัดดิบ จะแก้อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ และถ้าหากเคี้ยวดิบ ๆ ค่อย ๆ ซึมซับเอาน้ำเกาลัดเข้าไปจะแก้คออักเสบ

 “ต้นเกาลัดไทย” ไม่ได้เป็นไม้ไทย แต่ที่ได้ชื่อว่าเกาลัดไทยทั้งที่มาจากจีน ก็เป็นเพราะคำว่า เกาลัด หรือ เกาลัดจีน ที่คั่วขายที่เยาวราช ก็เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว บางแห่งก็เลยเรียกเกาลัดไทยว่า “เกาลัดเทียม” เพราะไม้ต้นนี้ไม่ใช่พวกเกาลัด(เกาลัค) อยู่คนละวงศ์กับเกาลัดที่คั่วขายกันในราคาแพง

เกาลัดไทย”เป็นพืชถิ่นเดิมของจีนตอนใต้ บริเวณกวางตุ้ง กวางสี ยูนนาน ไต้หวัน แล้วแพร่กระจายไปยังอินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น รวมทั้งไทย ผลเป็นผลแห้งแล้ว เปลือกเหนียวเหมือนหนังมีสีส้มหรือสีแดงหุ้มเมล็ดสีดำไว้ข้างใน เมื่อแก่จัดผลจะแตกด้านหนึ่งทำให้เห็นความสวยงามของเมล็ดสีดำตัดกับสีแดงของเปลือกผล เนื้อในเมล็ดสีเหลือง ต้มสุกแล้วเนื้อในเมล็ดจะเป็นสีเหลืองสด เมื่อนำเมล็ดไปต้มหรือคั่วให้สุกก็รับประทานได้ เนื้อไม้นำไปทำเฟอร์นิเจอร์ได้ เนื้อไม้มีเรซินมาก นำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมได้

Scroll to top