เกด

เกด

ชื่อสมุนไพร : เกด
ชื่ออื่นๆ :
ครินี, ไรนี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Manilkara hexandra (Roxb.) Dubard
ชื่อวงศ์ : SAPOTACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเกด เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง เปลือกแตกเป็นสะเก็ดสีดำเนื้อไม้สีน้ำตาลแดง เสี้ยนสน แต่เหนียวและ แข็งมาก กิ่งมักคดงอเป็นข้อศอก เรือนพุ่มเป็นกลุ่มกลม ไม่ผลัดใบ ต้นเล็กจะมีกิ่งลักษณะคล้ายหนาม มีใบติดเวียนกัน กันเป็นกลุ่มตามปลาย ๆ กิ่ง ปลายหนามลำต้นยังเล็กอยู่ ถ้าสับเปลือกดูจะมียางขาวซึมออกมา


  • ใบเกด รูปไข่กลับ ปลายใบผายกว้าง และมักหยักเว้าเข้าใบจะเรียวสอบมาทางโคนใบ เนื้อใบละเอียดเป็นมันทางด้านบนและ มักเป็นคราบขาวทางด้านล่าง เป็นแขนงใบมักขนานกันและค่อนข้างถี่


  • ดอกเกด ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุกสั้น ออกตามง่ามใบและเหนือรอยแผลใบ ปลายดอกชี้ลง ดอกสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงละ 3 กลีบ กลีบดอกโคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็นแฉกรูปใบหอก 6 แฉก เกสรเพศผู้สมบูรณ ์และไม่สมบูรณ์อย่างละ 6 อัน


  • ผลเกด ผลกลมรี ส่วนบนมีก้านเกสรเพศเมียติดค้างอยู่เป็นติ่งแหลม ฐานผลมีกลีบเลี้ยงที่เจริญขึ้นมารองรับ ผลสุกสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อนุ่ม มี 1-2 เมล็ด เมล็ดแข็ง สีน้ำตาลแดงเป็นมัน รูปไข่


ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล, เมล็ด, เปลือก

สรรพคุณ เกด :

  • ผล กินเป็นยาฝาดสมาน และบำรุงกำลัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ท้องผูก
  • ผลและเมล็ด ทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม
  • เมล็ด บรรเทาอาการระคายเคือง รักษาแผลเปื่อย และแผลพุพอง
  • เปลือก เป็นยาแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้เหงือกอักเสบ แก้ไข้ เป็นยาฝาดสมาน และเป็นยาต้านพิษ ช่วยขับปัสสาวะ ลดอาการไข้  ช่วยบำรุงกำลังให้แข็งแรง บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ ป้องกันการเกิดอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ

ข้อมูลเพิ่มเติม :

เกด  ฮินดูเรียก “ครินี” หรือ “ไรนี” ตามพุทธประวัติ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ใต้ต้นจิก 7 วัน แล้วได้เสด็จไปทรงประทับต่อใต้ต้นเกดอีก 7 วัน

“ผลเกด” เมื่อสุกแล้วจะมีรสหวานซึ่งสามารถรับประทานแก้ร้อนในกระหายน้ำ และแก้ท้องผูกได้เป็นอย่างดี

นิเวศวิทยา พบขึ้นทั่วไปตามป่าที่มีดินเป็นดินทราย และดินปนหิน ในป่าดิบแล้ง ป่าน้ำท่วม ป่าชายหาด ทางภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้  

ออกดอก มกราคม – กรกฎาคม เป็นผล กุมภาพันธ์ – สิงหาคม

ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด

Scroll to top