ชื่อสมุนไพร : หนุมานประสานกาย
ชื่ออื่นๆ : อ้อยช้าง(เลย), ชิดฮะลั้ง(จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schefflera leucantha R. Vig.
ชื่อวงศ์ : Araliaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นหนุมานประสานกาย เป็นพรรณไม้พุ่ม มีลำต้นสูงประมาณ 1-4 เมตร มีการแตกกิ่งก้านในระดับต่ำใกล้พื้นดิน ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง เป็นสีน้ำตาล
- ใบหนุมานประสานกาย ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 7-8 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี หรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี ส่วนริบขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน แผ่นใบหนา ส่วนก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 8-25 มิลลิเมตร
- ดอกหนุมานประสานกาย ออกดอกเป็นช่อ ตรงปลายกิ่ง ช่อหนึ่งยาวได้ประมาณ 3-5 นิ้ว ลักษณะของดอกย่อยเป็นดอกสีเหลืองแกมเขียวหรือสีขาวนวลและมีขนาดเล็ก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3-7 มิลลิเมตร
- ผลหนุมานประสานกาย มีลักษณะเป็นรูปไข่ อวบน้ำ ขนาดของผลเท่าเม็ดพริกไทย โดยมีความกว้างประมาณ 4-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่หรือสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบสด, ทั้งต้น
สรรพคุณ หนุมานประสานกาย :
- ใบสด รักษาโรคหืด โรคแพ้อากาศ ขับเสมหะ รักษาโรคหลอดลมอักเสบ รักษาวัณโรคปอด แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด ตำพอกแผลห้ามเลือด ห้ามเลือด
ต้มน้ำ หรือโขลกกับสุรา กินแก้ไอ คออักเสบ แก้ช้ำใน แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้เส้นเลือดฝอยในสมองแตกเป็นอัมพาต
ตำพอกแผลเพื่อห้ามเลือด สมานแผล สารซาโปนินในใบมีฤทธิ์ ขยายหลอดลม - ทั้งต้น รสขมฝาดเผ็ดปร่าหอม ต้มดื่มรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้อัมพฤกษ์ ทำให้เลือดลมเดินสะดวก
ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้กับคนที่เป็นโรคหัวใจ คนที่มีไข้สูง และหญิงตั้งครรภ์ ห้ามกินยานี้ในขณะที่กำลังเหนื่อยหรือในขณะที่หัวใจเต้นเร็ว เช่น หลังการออกกำลังกาย เพราะจะยิ่งทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น