หญ้างวงช้าง

หญ้างวงช้าง

ชื่อสมุนไพร : หญ้างวงช้าง
ชื่ออื่น ๆ :
หญ้างวงช้างน้อย(ภาคเหนือ), ผักแพวขาว(กาญจนบุรี), กุนอกาโม(มาเลเซีย-ปัตตานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heliotropium indicum (Linn.) R.Br.
ชื่อวงศ์ : BORAGINACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นหญ้างวงช้าง เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีความสูง ประมาณ 0.5-3 ฟุต ทั่วลำต้นมีขนสั้น
    หญ้างวงช้าง
  • ใบหญ้างวงช้าง เป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ริมขอบหยักหรือมีคลื่นเล็กน้อย คนใบหยักเว้าเป็นรูปหัวใจ พื้นผิวหยาบ ขรุขระ มีขนเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2 นิ้ว ยาวประมาณ 1-3 นิ้ว
    หญ้างวงช้าง
  • ดอกหญ้างวงช้าง ออกเป็นช่อ ตามบริเวณปลายยอด ช่อหนึ่งยาวประมาณ 7 นิ้ว ปลายช่อม้วนเหมือนงวงช้าง ลักษณะของดอกเรียงเป็นแถว มีสีขาว หรือสีฟ้า เป็นดอกขนาดเล็ก มีกลีบรองกลีบดอก และกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นท่อ ปลายกลีบแยกออกจากกัน ดอกมีขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร ข้างดอกมีขนนุ่ม ภายในท่อดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน และเกสรตัวเมียอยู่ 2 อัน ติดอยู่กับฐานดอก
    หญ้างวงช้าง
  • ผลหญ้างวงช้าง มีลักษณะเป็นรูปไข่ เปลือกผลแข็ง มีขนาดเล็ก ภายในผลมี 2 ช่อง ๆ หนึ่งมี 1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ใบ, ดอก, ราก

สรรพคุณ หญ้างวงช้าง :

  • ทั้งต้น ใช้ลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไอ ขับปัสสาวะ แก้หอบหืด แก้ขัดเบา แก้ไข้ ปอดอักเสบ เจ็บคอ แก้นิ่ว แผลบวมมีหนอง แก้ตาฟาง และเป็นยารักษาโรคชักในเด็ก
  • ใบ ใช้ใบสด นำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำเป็นยาหยอดหู รักษาสิว พอกฝี พอกแผล รักษาโรคผิวหนัง และทำเป็นยาอมกลั้วคอแก้เจ็บคอ
  • ดอก ใช้ดอกสด นำมาต้มกินเป็นยาขับระดู
  • ราก ใช้รากสด นำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำหยอดตาแก้ตาฟาง ตามัว และแก้ตาเจ็บ
Scroll to top