ระงับพิษ

ระงับพิษ

ชื่อสมุนไพร : ระงับพิษ
ชื่ออื่นๆ :
จ้าสีเสียด, ดับพิษ, ผักหวานด่าง, ปริก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Breynia glauca Craib.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นระงับพิษ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 3-5 เมตร กิ่งอ่อนแบนเล็กน้อย ต่อมาจะกลม ผิวเรียบ เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาล ลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยมแต่ไม่หลุดออกมา กิ่งอ่อน ยอดอ่อน มีสีแดง แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่ม
  • ใบระงับพิษ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมใบหอก เนื้อใบเหนียว หนาและแข็ง โคนใบมน ปลายใบแหลม หรือมน ขอบใบเรียบ ปลายสุดเป็นติ่งแข็งเล็กๆ เส้นใบแตกออกจากเส้นกลางใบ ข้างละ 3-4 เส้น หลังใบและท้องใบเรียบ หลังใบสีเขียวแกมน้ำตาล ท้องใบมีนวลสีขาว จับดูรู้สึกเหนียวมือ แผ่นใบห่อตัวเล็กน้อย หู ดอกช่อกระจุก ออกที่ซอกใบ
  • ดอกระงับพิษ ดอกย่อย 2-3 ดอก แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้ออกเป็นกระจุกเล็กๆ สีเหลืองแกมสีเขียวอ่อน ดอกย่อยเป็นรูประฆังคว่ำ กลีบเลี้ยงบางเชื่อมติดกัน สีเขียวถึงสีส้ม เกสรเพศผู้มี 3 อัน ก้านเกสรเชื่อมติดกัน ดอกตัวเมียออกบริเวณง่ามใบ 1-4 ดอก ดอกกลม ไม่มีกลีบดอก เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก ขยายออกและติดคงทน ซ้อนทับกัน กลีบเลี้ยงสีเขียวถึงสีเหลือง ยอดเกสรเพศเมีย ปลายแยกเป็น 2 แฉก รังไข่รูปกระสวย
  • ผลระงับพิษ ผลออกเดี่ยว หรือเป็นกลุ่ม เมื่อแก่แตก รูปกลมแป้น ตั้งขึ้น ไม่ห้อยลง แต่ละแฉกเป็นอิสระปลายผลเป็นร่อง แยกเป็น 3 แฉก ตื้นๆ ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดง เมล็ดกลม สีแดง มี 6 เมล็ด
    ระงับพิษ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ราก

สรรพคุณ ระงับพิษ :

  • ใบ รสเย็น แก้ไข้ร้อนในกระหายน้ำ ไข้พิษไข้หัว
  • ราก รสเย็น แก้ไข้จับสั่น ไข้กลับ ไข้ซ้ำ ไข้เซื่องซึม กระทุ้งพิษ แก้ไข้พิษทุกชนิด แก้ไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ

ภาพที่มา : หมอยาข้างทาง

Scroll to top