ม้ากระทืบโรง

ม้ากระทืบโรง

ชื่อสมุนไพร : ม้ากระทืบโรง
ชื่ออื่นๆ :
ม้าคอกแตก, คอกม้าแตก, มันฤาษี, กาโร, พญานอนหลับ, มาดพรายโรง, เดื่อเครือ, บ่าบ่วย, ม้าทะลายโรง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus foveolata Wall.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นม้ากระทืบโรง จัดเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เป็นไม้เถาขนาดใหญ่มักเลื้อยเกาะไปตามพรรณไม้ชนิดอื่น มีความสูงได้ถึง 25 เมตร เปลือกมีสีน้ำตาลและสาก มีปุ่มขึ้นคล้ายๆ หนาม เนื้อไม้สีขาวและมีน้ำยางสีขาว เถามีรสเย็น ส่วนทั้งต้นจะมีรสขมเล็กน้อย มักพบเกาะเลื้อยอยู่ตามต้นไม้ขนาดใหญ่ในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตัดเถาม้ากระทืบโรงประมาณ 1 คืบแล้วนำมาปักชำ
    ม้ากระทืบโรง
  • ใบม้ากระทืบโรง ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะของใบคล้ายรูปหอก หรือรูปไข่ หรือเป็นรูปขอบขนานแกมวงรี ก้านใบ และผิวใบด้านล่าง รวมไปถึงฐานรองดอกอ่อนจะมีขน ใบกว้างประมาณ 7-9 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-18 เซนติเมตร
  • ดอกม้ากระทืบโรง ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ที่ฐานรองดอกเป็นรูปทรงกลม
  • ผลม้ากระทืบโรง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม เปลือกผลสีเขียว ภายในผลเนื้อมีสีแดง

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เถา

สรรพคุณ ม้ากระทืบโรง :

  • เถา  รสเย็นขื่น ดองสุราหรือต้มดื่มบำรุงกำลัง บำรุงโลหิต แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ปวดฟัน บำรุงความกำหนัด บำรุงธาตุ แก้ประดงเลือดที่ทำให้เป็นจุดห้อเลือด เป็นเม็ดตุ่มตามผิวกาย แก้ประดงลม แก้น้ำเหลืองเสีย
Scroll to top