มะดัน

มะดัน

ชื่อสมุนไพร : มะดัน
ชื่ออื่นๆ :
  ส้มมะดัน, ส้มไม่รู้ถอย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia schomburgkiana Pierre
ชื่อวงศ์ : CRUSIACEAE  (Guttiferae)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นมะดัน เป็นไม้ยืนตันไม่ผลัดใบ มีลำต้นขนาดเล็ก-ขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 7-10 เมตร เนื้อไม้ค่อนข้างเหนียว แตกกิ่งตั้งแต่ระดับล่างของลำต้น และแตกกิ่งมากจนมีลักษณะเป็นทรงพุ่มหนา กิ่งมีลักษณะค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยม ผิวกิ่งค่อนข้างดำ กิ่งสามารถโค้งงอได้ง่าย
    มะดัน
  • ใบมะดัน ใบมะดันออกเป็นใบเดี่ยว แทงออกเป็นคู่ตรงข้ามกันบนกิ่ง ใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-9 เซนติเมตร มีรูปร่างค่อนข้างรียาว ปลายใบมน โคนใบสอบ มีแผ่นใบ และขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบมีสีเขียวสดถึงเขียวแก่ตามอายุใบ ใบอ่อนจะแตกออกในช่วงต้นฤดูฝน
  • ดอกมะดัน ดอกมะดันออกเป็นช่อ แทงออกตามง่ามใบ แต่ละช่อมีดอกประมาณ 3-6 ดอก ประกอบด้วยดอกเพศผู้ และดอกสมบูรณ์เพศ แต่ละดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 4 กลีบ และตัวดอกที่เป็นกลีบดอก 4 กลีบ กลีบดอกมีสีชมพูอมแดง
  • ผลมะดัน ผลมะดันมีลักษณะค่อนข้างกลม และยาวรี มีความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผิวเปลือกผลมีสีเขียวเข้ม และเป็นมัน เนื้อผลค่อนข้างหนา และมีรสเปรี้ยวจัด ภายในประกอบด้วยเมล็ด 3-4 เมล็ด มีลักษณะกลมรี และส่วนปลายค่อนข้างแหลม เมื่อผลยังอ่อน เมล็ดจะมีสีขาว เมื่อผลแก่ เมล็ดจะมีสีน้ำตาล และแข็ง ติดผลในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, เปลือกต้น, ใบ, ผล

สรรพคุณ มะดัน :

  • ราก มีรสเปรี้ยว แก้เบาหวาน แก้ไข้หวัด แก้ไข้ทับระดู ขับฟอกโลหิต กัดเสมหะในลำคอ แก้กระษัย แก้ระดูเสีย เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • เปลือกต้น แก้ไข้ทับระดู แก้โลหิตระดู
  • ใบ มีรสเปรี้ยว แก้หวัด แก้ไอ แก้กระษัย แก้เสมหะพิการ แก้น้ำลายเหนียว กัดเสมหะ แก้ประจำเดือนพิการ แก้ระดูเสีย ขับฟอกโลหิต เป็นยาระบายอ่อน แก้โลหิตพิการ ขับปัสสาวะ
  • ผล มีรสเปรี้ยว ล้างเสมหะ กัดเสมหะ ฟอกโลหิต แก้ไอ แก้ประจำเดือนพิการ

[su_quote]ใช้ประกอบอาหาร เพื่อให้เกิดรสเปรี้ยวในอาหารประเภทต้มยำต่างๆ เช่น ต้มยำปลาช่อน ต้มแสบ เป็นต้น ซึ่งมะดันนี้จะช่วยลดกลิ่นคาวของเนื้อ และเพิ่มกลิ่นหอม และรสให้แก่อาหารได้[/su_quote]

Scroll to top