มะคังแดง

มะคังแดง

ชื่อสมุนไพร : มะคังแดง
ชื่ออื่นๆ :
จงก่าขาว, ตะลุมพุกแดง(กาญจนบุรี), จิ้งก่าขาว, ชันยอด(ราชบุรี), ตุมกาแดง(กลาง), มะคัง(เชียงใหม่), มะคังป่า(กลาง เหนือ), มุยแดง, ลุมพุกแดง(นครราชสีมา), โรคแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gardenia erythroclada Kurz.
ชื่อวงศ์ : Rubiaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นมะคังแดง เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความของต้นได้ประมาณ 6-12 เมตร ใบดกหนาทึบ เปลือกลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม มีขนนุ่มคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาลแดงขึ้นปกคลุมทั่วไป ตามโคนต้น ลำต้น และกิ่งมีหนามขนาดใหญ่โดยรอบ พุ่งตรงออกเป็นระยะ ตามกิ่งก้านอ่อนมีสีน้ำตาลอมแดง
    มะคังแดง
  • ใบมะคังแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบมีลักษณะรีกว้าง รูปวงรี หรือรูปไข่กลับ ปลายใบมน โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-22 เซนติเมตร หลังใบด้านบนเรียบ ส่วนท้องใบด้านล่างมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม หรือมีขนทั้งสองด้าน ก้านใบมีขนสีขาว มีหูใบรูปสามเหลี่ยมหลุดร่วงได้ง่าย
    มะคังแดง
  • ดอกมะคังแดง ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ขนาดเล็ก โดยจะออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยเป็นสีเขียวอ่อน กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน กลีบดอกเป็นรูปกลม ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นติดกับกลีบดอกวางสับหว่างกลีบดอก
  • ผลมะคังแดง ผลสด ผลเป็นรูปทรงกลม สีเขียว มีสันนูนประมาณ 5-6 สัน ผิวผลเรียบ ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ออกดอกและติดผลในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ต้น, เปลือกต้น, ราก

สรรพคุณ มะคังแดง :

  • ต้น ต้มน้ำดื่ม แก้เลือดลมเดินไม่สะดวก ผสมกับหัวยาข้าวเย็น ต้มน้ำดื่มแก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) แก้ปวดท้อง ขับพิษโลหิต และน้ำเหลือง
  • เปลือกต้น ตำพอกแผลสด ห้ามเลือด
  • ราก  เป็นยาถ่าย ไม่ระบุส่วนที่ใช้ ใช้แก้ไข้
Scroll to top