มะขวิด

มะขวิด

ชื่อสมุนไพร : มะขวิด
ชื่ออื่นๆ : 
มะยม (ภาคอีสาน), มะฝิด (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
 Limonia acidissima L.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นมะขวิด เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เซนติเมตร เป็นไม้ผลัดใบ แต่ผลิใบไว รูปทรงของต้นสวยงาม ลักษณะเป็นทรงเรือดยอดพุ่มกลม เปลือกลำต้นภายนอกมีสีเทา ส่วนภายในมีสีขาว
    มะขวิด
  • ใบมะขวิด ใบออกเป็นช่อแบบข้อต่อเรียงสลับหรือติดกันเป็นกระจุกในบริเวณปุ่มตามกิ่งต่างๆ ช่อใบยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร ในแต่ละช่อจะมี 1-4 ปล้อง หลังใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบค่อนข้างหนาเกลี้ยง ส่วนท้องใบจะมีสีจางกว่า เมื่อเอาใบมาส่องผ่านแสงจะเห็นเป็นต่อมน้ำมันอยู่ทั่วไป ลักษณะเป็นรูปรีๆ ใสๆ มากมายส่วนขอบใบเรียบก้านใบย่อยจะสั้นมาก แต่ก้านช่อใบจะยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร
  • ดอกมะขวิด เป็นดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง หรือซอกใบ ประกอบด้วยดอกตัวผู้ และดอกสมบูรณืเพศอยู่ในต้นเดียวกัน กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียวเจือด้วยสีแดง
  • ผลมะขวิด มีลักษณะกลมตัว เป็นผลแห้ง เปลือกภายนอกแข็งเป็นกะลามีสีเทาอมขาว หรือผิวเป็นขุยสีขาวปนสีชมพู ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8-10 เซนติเมตร ผลมีเนื้อมาก เนื้อในผลอ่อนนิ่ม เมื่อผลสุกแล้วเนื้อเยื่อจะเป็นสีดำสามารถใช้รับประทานได้ โดยให้รสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม
    มียางเหนียว ส่วนในผลมีเมล็ดจำนวนมาก มีเมือกหุ้มเมล็ด เมล็ดมีขนาดยาวประมาณ 0.5-0.6 เซนติเมตร เปลือกหนา และมีขน สามารถนำมาเคี้ยวรับประทานได้เช่นกัน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, เปลือก, ใบ, ผล, ยาง

สรรพคุณ มะขวิด :

  • ราก แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต  
  • เปลือก แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อย แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต
  • ใบ แก้ฟกบวม แก้พยาธิ แก้ฝีเปื่อยพัง แก้ท้องร่วง แก้ตกโลหิต (ห้ามโลหิตระดูสตรี) ขับลม ฝาดสมาน   
  • ดอก  แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต  
  • ผล แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต เป็นยาบำรุงทำให้สดชื่น เจริญอาหาร บำบัดโรคท้องเสีย รักษาโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร รักษาโรคลักปิด-ลักเปิด
  • ยาง เจริญไฟธาตุ แก้ท้องเสีย สมานบาดแผล
Scroll to top