ผักโขมหนาม

ผักโขมหนาม

ชื่อสมุนไพร : ผักโขมหนาม
ชื่ออื่น ๆ
: แม่ล้อดู่, กะเหม่อลมี, หมั่งลั้งดู่ (กะเหรี่ยง-แมฮ่องสอน), ผักโหมหนาม (ภาคใต้), หลักเกี้ยงฉ่าย (จีน), ปะตึ (เขมร)
ชื่อสามัญ : Spiny Pigweed, S.Amaranth
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amaranthus spinosus Linn.
ชื่อวงศ์ : AMARANTHACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นผักโขมหนาม จัดเป็นพืชล้มลุก มีอายุสั้นประมาณ 2-4 เดือน เมื่อออกดอกติดเมล็ดแล้วจะค่อย ๆ ผักโขมหนามเหี่ยวแห้งตายไปเอง หรือเรียกว่าเป็นพืชที่มีอายุปีเดียว ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงและแตกกิ่งมาก ลำต้นเป็นเหลี่ยมหรือกลม ผิวเรียบ มีร่องละเอียดตามความยาวของลำต้น มีความสูงประมาณ 1 เมตร การเกาะติดของใบบนกิ่งเป็นแบบสลับ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

 

  • ใบผักโขมหนาม ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ หรือเป็นรูปไข่แกมรูปใบหอกกว้าง มีขนาดกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ส่วนโคนใบสอบแคบ ลักษณะของขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ส่วนก้านใบยาวประมาณ 7 เซนติเมตร และมีหนามแหลมยาว 1 คู่ อยู่ที่โคนก้านใบ
  • ดอกผักโขมหนาม จะออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามง่ามใบ ซึ่งดอกนี้เพศผู้และเมียจะแยกกันอยู่คนละดอก ดอกเพศเมียจะออกอยู่ตามง่ามใบในลักษณะเป็นกลุ่ม ส่วนเพศผู้ออกตรงปลายกิ่งเป็นเส้นกลม ดอกมีกลีบอยู่ 5 กลีบ สีเขียวอ่อนออกสีขาวหรือสีเขียว
  • ผลผักโขมหนาม ผลเป็นแบบแห้งแล้วแตก เป็นรูปขอบขนาน ปลายแยกเป็น 3 พู โดยจะแตกตามขวางของผล ในผลมีเมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปทรงกลม ตรงกลางทั้งสองด้านจะนูน มีขนาดเล็กมากประมาณ 0.05 เซนติเมตร และเมล็ดผักโขมหนามมีสีน้ำตาลเป็นมันเงา

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ราก

สรรพคุณ ผักโขมหนาม :

  • ทั้งต้น จะใช้ต้นแห้ง หรือต้นสดก็ได้ ต้มกับน้ำทานแก้เจ็บคอ แก้บิดถ่ายเป็นเลือด สตรีตกขาวมากผิดปกติ นิ่วในถุงน้ำ ใช้ภายนอกใช้ตำพอกหรือชะล้าง หรือเผาเป็นเถ้าหรือเป็นผงโรย ฝี แผลงูกัด บวมอักเสบ
  • ราก น้ำมาล้างให้สะอาดแล้วเก็บไว้ จะเป็นต้นแห้งหรือสดก็ปรุงเป็นยาได้ สรรพคุณก็เหมือนกับต้น

ข้อห้ามใช้ : สตรีที่มีครรภ์ หรือในขณะที่มีประจำเดือนห้ามรับประทาน

Scroll to top