ผักบุ้ง

ผักบุ้ง

ชื่อสมุนไพร : ผักบุ้ง
ชื่ออื่นๆ :
ผักทอดยอด, ผักบุ้งแดง, ผักบุ้งไทย, ผักบุ้งนา, ผักบุ้งขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomoea aquatica Forssk.
ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ผักบุ้ง เป็นไม้น้ำและเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเลื้อยทอดไปตามน้ำหรือในที่ลุ่มที่มีความชื้นหรือดินแฉะๆ ลำต้น
    กลวงสีเขียวมีข้อปล้องและมีรากออกตามข้อ
  • ใบผักบุ้ง เป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับเช่นรูปไข่รูปไข่แถบขอบขนานรูปหอก รูปหัวลูกศรขอบใบเรียบหรือมีผักบุ้งควั่นเล็กน้อยปลายปลายใบแหลมหรือมน ฐานใบเว้าป็นรูปหัวใจ ใบยาว 3-15 เซนติเมตร กว้าง 1-9 เซนติเมตร

 

 

  • ดอกผักบุ้ง สีขาว สีชมพูหรือม่วงอ่อน ออกเป็นช่อมี 2-3 ดอก ลักษณะแผ่เป็นปากแตร ขนาด 4-7 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันตรงโคน กลีบดอกเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5แฉก ยาว 3-5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดเหนือโคนกลีบดอก
  • ผลผักบุ้ง แห้งแล้วแตก รูปไข่หรือกลม ขนาด 1 เซนติเมตร เมล็ดมี 4 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, ต้น, ยอดอ่อน, ใบ, ดอกตูม, ทั้งต้น

สรรพคุณ ผักบุ้ง :

  • ราก ใช้ถอนพิษ แก้ผิดสำแดง แก้โรคตา แก้ตกขาวในสตรี แก้ปวดฟันเนื่องจากฟันเป็นรู แก้ไอเรื้อรัง แก้เหงื่อออกมาก แก้บวม แก้พิษงูเห่า
  • ต้น ถอนพิษ แก้พาเบื่อเมา ถอนพิษยาทั้งปวง แก้ตาฟาง แก้โรคตา
  • ยอดอ่อน ถอนพิษ รักษาริดสีดวงทวาร แก้เด็กเป็นหวัด
  • ใบ แก้พิษขนของบุ้ง รักษาริดสีดวงทวาร ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้ตาฟาง แก้พิษฝี ปวด อักเสบ
  • ดอกตูม รักษากลากเกลื้อน
  • ทั้งต้น รักษาตาแดง รักษาตาฟาง รักษาตามัว แก้เบาหวาน แก้ปวดศีรษะ แก้ผิวหนังผื่นคัน แก้กลากเกลื้อน เป็นยาระบาย แก้ไข้ แก้โรคนอนไม่หลับ ถอนพิษ แก้พิษเบื่อเมา
Scroll to top