ชื่อสมุนไพร : ผักบุ้งร่วม
ชื่ออื่นๆ : กาล่อ(มาเลย์-ปัตตานี), ผักบุ้งปลิง, ผักแป๋ง(เชียงใหม่), ผักดีเหยียน(เงี้ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Enydra fluctuans Lour.
ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นผักบุ้งร่วม เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นทอดเลื้อยตามพื้นน้ำ ลำต้นเป็นข้อปล้อง ตามข้อจะมีรากไว้สำหรับยึดเกาะ ลำต้นมีลักษณะโค้งแล้วตั้งตรง สูงได้ประมาณ 15-90 เซนติเมตร ภายในลำต้นกลวงและมีขนบาง ๆ ปกคลุมหรือบางทีอาจเกลี้ยง มีกลิ่นหอม
- ใบผักบุ้งร่วม เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรีหรือรูปขอบขนานแคบ ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบตัด ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-1.6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-6 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวสด มีขนขึ้นปกคลุมทั้งสองด้าน
- ดอกผักบุ้งร่วม ออกดอกเป็นกลุ่มหรือเป็นกระจุกค่อนข้างกลม โดยจะออกตามซอกใบหรือบริเวณส่วนยอดของต้น ไม่มีก้านดอก ดอกเป็นสีขาวออกเขียวอ่อน ๆ โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว ส่วนปลายแผ่ออกเป็นรูปรางน้ำสั้น ๆ ปลายจักเป็นฟันเลื่อย ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร มีใบประดับรูปไข่ 4 อัน ขนาดประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ปลายเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉกสั้น
- ผลผักบุ้งร่วม สีดำ ผิวเกลี้ยงแต่แห้ง ล้อมรอบด้วยริ้วประดับ ผลยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ทั้งต้น, เมล็ด
สรรพคุณ ผักบุ้งร่วม :
- ใบ แก้ผดผื่นคัน
- ทั้งต้น ใช้แก้โรคนิ่วที่ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด แก้ขัดเบา แก้ไอ ฝีบวม
- เมล็ด เป็นยาถ่าย เป็นฝีบวมหรือผดผื่นคัน นิ่วที่ถ่ายปัสสาวะออกมาเป็นเลือด
[su_quote cite=”The Description”]1.เป็นฝีบวมหรือผดผื่นคัน ให้ใช้ต้นสดตำพอกตรงบริเวณที่เป็น
2. นิ่วที่ถ่ายปัสสาวะออกมาเป็นเลือด ใช้ต้นสดประมาณ 30 กรัมต้มกับน้ำตาลกรวด แล้วดื่มน้ำมัน [/su_quote]