ปลาไหลเผือก

ปลาไหลเผือก

ชื่อสมุนไพร : ปลาไหลเผือก
ชื่ออื่นๆ
:  คะนาง, ขะนาง, ไหลเผือก(ตราด), ตุงสอ, แฮพันชั้น(ภาคเหนือ), หยิกปอถอง, หยิกไม่ถึง, เอียนดอย(ภาคอีสาน), เพียก (ภาคใต้), กรุงบาดาล(สุราษฎร์ธานี), ตรึงบาดาล(ปัตตานี), ตุวุเบ๊าะมิง, ดูวุวอมิง(มลายู-นราธิวาส)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eurycoma longifolia Jack
ชื่อวงศ์ : SIMAROUBACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ปลาไหลเผือก เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง สูง 1-10 เมตร เปลือกสีน้ำตาล เป็นไม้ลงราก ปลาไหลเผือกรากกลมโตสีขาวยาว กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล กิ่งก้านสั้นเป็นกระจุกที่ปลายยอดของลำต้น แตกกิ่งก้านน้อย ก้านใบออกจากลำต้นตรงส่วนปลาย เรียงหนาแน่นช่วงปลายกิ่ง

 

 

  • ใบปลาไหลเผือก เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียน ใบประกอบยาวได้กว่า 35 เซนติเมตร ใบปลาไหลเผือกย่อย 8-13 คู่ เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม รูปใบหอกแกมรูปไข่กลับหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ เรียวยาว ใบย่อยเรียงแบบตรงข้าม กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร เส้นแขนงใบข้างละ 8-12 เส้น ปลายใบแหลม ฐานใบมน ขอบใบเรียบ โคนใบเบี้ยว เส้นใบเห็นไม่ชัดเจน ปลายโค้งจรดกัน เส้นกลางใบนูนเล็กน้อยด้านบน นูนเด่นชัดด้านล่าง ไม่มีก้านใบย่อย แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเรียบเป็นมัน ผิวด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนประปราย ก้านช่อใบยาว 7-15 เซนติเมตร
  • ดอกปลาไหลเผือก เป็นช่อแบบแยกแขนง ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง และซอกใบ เป็นช่อพวงใหญ่ ยาวได้ปลาไหลเผือกถึง 30 เซนติเมตร ดอกแยกเพศร่วมต้น หรือแยกเพศต่างต้น มีขนละเอียดและขนสั้นเป็นต่อมกระจาย ทั้งก้านช่อดอก ก้านดอก ใบประดับ และกลีบเลี้ยง มีขนประปรายและมีขนต่อมเป็นกระจุก กลีบดอก 5 กลีบ สีม่วงปนแดง

 

  • ผลปลาไหลเผือก ทรงกลม เป็นพวง มีประมาณ 5 ผลย่อย ทรงรีหรือรูปไข่ กว้าง 8-12 มิลลิเมตร ยาว 1-2 ผลปลาไหลเผือกเซนติเมตร ผนังผลชั้นในแข็ง ก้านผลยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เปลือกนอกบาง กลางผลมีร่องตื้นๆตามยาว ผลแก่สีแดงถึงม่วงดำ เมล็ดรูปรีมี 1 เมล็ด

 

 

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : รากปลาไหลเผือก

สรรพคุณ ปลาไหลเผือก :

  • ราก รสขม เบื่อเมาเล็กน้อย ถ่ายพิษต่างๆ ถ่ายฝีในท้อง ถ่ายพิษไข้พิษเสมหะ และโลหิต แก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย ตัดไข้ทุกชนิด แก้ลม แก้วัณโรคระยะบวม ขับเหงื่อ ขับพยาธิ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้เจ็บคอ ความดันเลือดสูง อัมพาต ขับถ่ายน้ำเหลือง แก้ท้องผูก
Scroll to top