น้อยหน่า

น้อยหน่า

ชื่อสมุนไพร : น้อยหน่า
ชื่ออื่นๆ
 :  หมักเขียบ(ตะวันออกเฉียงเหนือ)ลาหนัง(ปัตตานี)มะนอแน่มะแน่(เหนือ)หน่อเกล๊ะแซ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)มะออจ้ามะโอจ่า(เงี้ยว-เหนือ)เตียบ(เขมร)
ชื่อสามัญ : Sugar Apple, Sweetsop, Custard Apple
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Annona squamosa Linn.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นน้อยหน่า เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นก้านเล็ก ๆ ไม่ใหญ่โตมากนักผิวเกลี้ยง สีเทาอมน้ำตาล ลำต้นสูงประมาณ 8 เมตร
  • ใบน้อยหน่า ออกใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายและโคนใบจะแหลม ใบกว้างประมาณ 1-2.5 นิ้วยาว 3-6 นิ้ว สีเขียว ก้านใบยาว 0.5 นิ้ว
  • ดอกน้อยหน่า ออกดอกเดี่ยว ๆ อยู่ตามง่ามใบ ลักษณะของดอกจะห้อยลงมีอยู่ 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ชั้นในกลีบดอกจะสั้นกว่าชั้นนอก มีสีเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ เกสรกลาง ดอกมีจำนวนมากมาย
  • ผลน้อยหน่า ออกเป็นลูกกลม ๆ ป้อม ๆ โตประมาณ 3-4 นิ้ว มีผิวขรุขระ เป็นช่องกลมนูน ซึ่งในแต่ละช่องน้อยหน่านั้นภายในจะเป็นเนื้อสีขาวและมีเมล็ดสีดำหรือน้ำตาลเข้ม เนื้อในทานได้มีรสหวาน เปลือกผลสีเขียว แต่ถ้าสุกตรงขอบช่องนูนนั้นจะออกสีขาวและบีบดูจะนุ่ม ๆ

 

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบสด, เมล็ด, ราก,  เปลือกต้น, ผล

สรรพคุณ น้อยหน่า :

  • ใบสดและเมล็ด สามารถใช้ฆ่าเหา และ โรคกลากเกลื้อน
    โดยเอาใบน้อยหน่าสดมาคั้นเอาแต่น้ำ แล้วพอกหัว ภายใน 7 วัน กลากเกลื้อนและเหาก็จะหาย
  • ราก เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน และแก้พิษงู ถอนพิษเบื่อเมา
  • เปลือกต้น เป็นยาสมานลำไส้ สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้พิษงู แก้รำมะนาด ยาฝาดสมาน
  • ผล  ผลดิบ จะเป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในคอ กลาก เกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง และผลแห้ง แก้งูสวัด เริม แก้ฝีในหู
    เมล็ดน้อยหน่า ใบน้อยหน่า

[su_quote cite=”The Description”]เป็นเหา ซึ่งมีวิธีรักษาอยู่ 2 วิธีคือ
❐ นำใบน้อยหน่าประมาณ 3-4 ใบมาบดหรือตำให้ ละเอียดแล้วคลุกกับเหล้า 28 ดีกรี คลุกให้เคล้ากันจนได้กลิ่นน้อยหน่า แล้วนำมาทาหัวให้ทั่ว เอาผ้าคลุมไว้สัก 10-30 นาทีและเอาผ้าออกใช้หวีสาง เหาก็ตกลงมาทันที
❐ นำใบน้อยหน่า 7-8 ใบ มาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำทาหัวทิ้งไว้สักครู่ แล้วล้างออก ซึ่งจะช่วยทำให้ไข่ฝ่อ และฆ่าเหาได้ และ แก้ขับพยาธิลำไส้ ฆ่าเหา แก้หิด แก้กลากเกลื้อน และแก้ฟกบวม[/su_quote]

Scroll to top