ทุ้งฟ้า

ทุ้งฟ้า

ชื่อสมุนไพร : ทุ้งฟ้า
ชื่ออื่นๆ :
กระทุ้งฟ้าไห้, ทุ้งฟ้าไก้ (ชุมพร), ตีนเทียน (สงขลา) และ พวมพร้าว (ปัตตานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia macrophylla Wall. ex G.Don
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 

  • ต้นทุ้งฟ้า ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 20 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางขาว ไม้ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นรูปไข่แกมรูปกรวยแหลม ค่อนข้างโปร่ง ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง กิ่งใหญ่ตั้งฉากกับล้ำต้นเป็นวงรอบ โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกต้นเรียบเป็นสีขาวอมเทาหรือสีเทาอ่อน
  • ใบทุ้งฟ้า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงรอบ ๆ ข้อ ข้อละ 3-4 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกกลับหรือรูปไข่แกมรูปหอกกลีบ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียว ท้องใบเป็นคราบสีขาว เส้นแขนงใบถี่และเป็นเส้นตรง
  • ดอกทุ้งฟ้า ออกดอกเป็นช่อแขนงตามซอกใบที่ปลายกิ่งจำนวนมาก ยาวประมาณ 3.5-11.5 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีขาว มีขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีขาวอมเหลือง โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน
  • ผลทุ้งฟ้า ผลมีลักษณะเป็นฝักยาวขนาดเล็ก ออกเป็นคู่ ๆ ฝักมีลักษณะเรียวยาว ยาวประมาณ 30-45 เซนติเมตร พอแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก และบิดเป็นเกลียว ปล่อยให้เมล็ดที่มีพู่สีขาวปลิวไปตามลม

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, เปลือกต้น, ใบ

สรรพคุณ ทุ้งฟ้า :

  • ราก ใช้ผสมยารับประทานบำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด
  • เปลือกต้น บำรุงกำลัง แก้ไข้ รักษาโรคมาเลเรีย ไข้ป่า เป็นยาบำรุง แก้บิด ช่วยขับระดูของสตรี บำรุงกำหนัด รักษาบาดแผล
  • ใบ ตำผสมกับน้ำมันมะพร้าวทำให้ร้อน ใช้เป็นยาพอกแก้ข้อต่อเคลื่อน
Scroll to top