ชื่ออื่น : ติ้วขน, กวยโชง, กุยฉ่องเซ้า, ตาว, ติ้วแดง, ติ้วยาง, ติ้วเลือด, ติ้วเหลือง, แต้ว, แต้วหิน, ติ้วขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cratoxylum formosum (Jack.) Dyer subsp. Pruniflorum Gogel.
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE (GUTTIFERAE)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นติ้วขน เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร เปลือกนอกสีน้ำตาลปนดำ แตกเป็นสะเก็ดตามยาว เปลือกในสีน้ำตาลเหลืองและมียางเหนียว ๆ สีเหลืองปนแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โปร่ง กิ่งเล็กตามลำต้น มักกลายสภาพเป็นหนามแข็ง ๆ
- ใบติ้วขน เป็นใบเดี่ยว ติดตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ รูปรีแกมรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานกว้าง 2.-4.5 ซม. ยาว 3-13 ซม. โคนใบสอบเรียว เนื้อใบบาง หลังใบมีขนสากๆส่วนท้องใบมีขนนุ่มหนาแน่น ใบอ่อนออกสีชมพูเรื่อ ใบแก่ก่อนผลัดใบมีสีแดง ขอบใบเรียบ
- ดอกติ้วขน สีชมพูอ่อนถึงแดง กลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นกระจุกตามกิ่ง ทั้งกลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก มีอย่างละ 5 กลีบ กลีบรองกลีบดอกมีขนประปรายส่วนกลีบดอกเกลี้ยงและยาวประมาณ 2 เท่าของกลีบรองกลีบดอก เกสรผู้มีมาก และแบ่งเป็น 3 กลุ่ม รังไข่รูปรีๆเกลี้ยงๆ ผล เป็นชนิดผลแห้ง รูปรีๆ ยาวประมาณ 2 ซม. แข็งมีคราบสีนวลๆตามผิว
- ผลติ้วขน แก่จัดจะแตกอ้าออกเป็น 3 แฉก สีน้ำตาล เมล็ด รูปขอบขนานเล็กๆ มีปีกโค้งๆ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, ใบ, ต้น, เปลือกต้น, ยางจากเปลือกต้น
สรรพคุณ ติ้วขน :
- รากติ้วขน ผสมกับหัวแห้วหมู และรากปลาไหลเผือก ต้มน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด
- น้ำยางติ้วขน ทารอยแตกของส้นเท้า
- รากและใบติ้วขน น้ำต้มกินเป็นยาแก้ปวดท้อง
- ต้น ยางจากเปลือกต้นติ้วขน ทาแก้คัน
- เปลือกต้นติ้วขน ต้มดื่มกินแก้ธาตุพิการ
- เปลือกและใบติ้วขน ตำผสมกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้โรคผิวหนังบางชนิด
อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย