ตานเสี้ยน

ตานเสี้ยน

ชื่อสมุนไพร : ตานเสี้ยน,
ชื่ออื่น :
 นางหวาน (นครราชสีมา), ตานเสี้ยน (กรุงเทพฯ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xantolis burmanica (Collett & Hemsl.) P. Royen
ชื่อวงศ์ : SAPOTACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นตานเสี้ยน เป็นไม้ต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง สูงประมาณ 15-20 เมตร แตกกิ่งจำนวนมาก กิ่งขนาดเล็กและเหนียว เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง มีรอยแตกลึกๆ บางครั้งมีหนามในต้นที่อายุน้อย เปลือกชั้นในสีแดงหรือส้มอมชมพู มีน้ำยางสีขาว เหมือนน้ำนม
  • ใบตานเสี้ยน เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปมนรีกว้างถึงขอบขนาน กกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปหัวใจ ยอดอ่อนและตายอดมีขนสีเหลืองหรือออกน้ำตาล ใบแก่เหนียว เกลี้ยง เส้นใบ 9-14 คู่ โค้งและจรดกัน ที่ขอบใบเส้นใบย่อยสานกัน บางครั้งเกือบขนานกับเส้นใบข้าง ก้านใบเมื่ออ่อนมีขนสีเหลืองหรือน้ำตาล เมื่อแก่จะเรียบ เกลี้ยง กิ่งก้านมีรูอากาศ
  • ดอกตานเสี้ยน ออกดอกเป็นช่อขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมออกตามซอกใบ มีขนสีน้ำตาลทองหนาแน่น กลีบเลี้ยง มี 5 กลีบ ซ้อนกันเป็น 1 ชั้น กลีบทั้งสองด้านมีขนชั้นกลีบดอก สีขาวหรือครีม รูปขอบขนาน มี 5 พู เกสรเพศผู้ มี 5 อัน ปลายแตกเป็นฝอยรังไข่มีขนหนาแน่น
  • ผลตานเสี้ยน ลักษณะเป็นผลสด สีเหลืองหรือออกแดง รูปมนรี ปลายแหลมหรือป้าน เปลือกนอกแข็ง มี 1-5 เมล็ด สีน้ำตาลเข้ม เป็นมัน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกต้นและเนื้อไม้, ราก

สรรพคุณ ตานเสี้ยน :

  • เปลือกต้นและเนื้อไม้ รสจืดเบื่อเมาเล็กน้อย แก้เสมหะ แก้อุจจาระธาตุพิการเป็นฟองเป็นเมล็ดสีเขียว ขาว เป็นเสมหะ แก้ตานซาง แก้ตานขโมย
  • ราก รสจืดเบื่อเมา ขับพยาธิทุกชนิด แก้พิษตานซาง กล่อมอาจม แก้อุจจาระธาตุพิการเป็นสีต่างๆ
Scroll to top