จอกบ่วาย

จอกบ่วาย

ชื่อสมุนไพร : จอกบ่วาย
ชื่ออื่นๆ
 : กระดุมทอง(ตะวันออกเฉียงเหนือ), หมอกบ่วาย(อุบลราชธานี), หยาดน้ำค้าง
ชื่อสามัญ : Rosetted Sundews/ The Burmese Sundew
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Drosera burmannii Vahl.
ชื่อวงศ์ : Droseraceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นจอกบ่วาย เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสั้น อายุปีเดียว สูง 2-3 เซนติเมตร เป็นพืชกินแมลงขนาดเล็ก
    จอกบ่วาย
  • ใบจอกบ่วาย เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับและซ้อนกันแน่นเป็นแนวรัศมี เรียงกระจุกใกล้ราก ยาว 6-10 มิลลิเมตร กว้าง 4-6 มิลลิเมตร ทอดราบไปกับพื้นดิน แผ่นใบรูปไข่กลับถึงรูปโล่ ฐานเรียวแหลม ปลายป้านและโค้งงอขึ้นเล็กน้อย แผ่นใบมีขนต่อมสีแดงปกคลุมจำนวนมาก ปลายใบมีน้ำเมือกเหนียว ก้านใบสั้น หูใบรูปแถบ แยกเป็น 3 แฉก ผิวใบมีขนปลายเป็นตุ่ม มีน้ำเมือกใส เมื่อมีแมลงมาติด จะมีสารพวกน้ำย่อยมาย่อยแมลงนำไปเลี้ยงลำต้นได้
  • ดอกจอกบ่วาย ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ออกที่ปลายยอดหรือกึ่งกลางลำต้น กลีบดอก มี 5 กลีบ แยกกัน สีขาวปลายสีแดง เรียงซ้อนเหลื่อมกัน เรียงสลับกับกลีบเลี้ยง รูปหอกกลับ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ดอกเรียงเป็นแนวเดียว 2-25 เกสรเพศผู้มี 5 อัน ติดที่ฐานดอก ก้านชูยาว 2-2.5 มิลลิเมตร เกสรเพศเมีย มีรังไข่เกลี้ยง อยู่เหนือวงกลับ รูปไข่ มี 1 คาร์เพล มีก้านชูเกสร 5 อัน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ
    จอกบ่วาย
  • ผลจอกบ่วาย เป็นแบบแคปซูล แห้งแตก รูปกลม มีขนาดเล็กมาก ยาว 1.5-2 มิลลิเมตร มี
  • เมล็ดจอกบ่วาย จำนวนมาก สีดำ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น

สรรพคุณ จอกบ่วาย :

  • ทั้งต้นแห้ง ดองเหล้าดื่ม แก้ท้องมาน
  • ทั้งต้นสด ขยี้ทาแก้กลากเกลื้อน ไฟลามทุ่ง งูสวัด
Scroll to top