ชื่อสมุนไพร : คำฝอย
ชื่ออื่น ๆ : คำยุ่ง, คำยอง, ดอกคำ( ภาคเหนือ ), คำ(ทั่วไป)
ชื่อสามัญ : Safflower , american Saffron
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carthamus tinctorius Linn.
ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นคำฝอย เป็นไม้ล้มลุก มีความสูงประมาณ 40-130 เซนติเมตร มีลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก เป็นพืชที่มีอายุสั้นทนแล้ง
- ใบคำฝอย เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปวงรี ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกหรือรูปขอบขนาน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ใบมีความกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-12 เซนติเมตร
- ดอกคำฝอย รวมกันเป็นช่ออัดแน่นบนฐานดอกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกคำฝอยมีลักษณะกลมคล้ายดอกดาวเรือง เมื่อดอกคำฝอยบานใหม่ๆ จะมีกลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีส้ม เมื่อแก่จัดดอกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง ที่ดอกมีใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอกอยู่
- ผลคำฝอย คล้ายรูปไข่หัวกลับ ผลเบี้ยวๆ มีสีขาวงาช้างปลายตัดมีสัน 4 สัน ขนาดของผลยาวประมาณ 0.-6-0.8 เซนติเมตร ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ด้านในผลมีเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมยาวรี เปลือกแข็งมีสีขาว มีขนาดเล็ก เมื่อผลแก่แห้งเมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอก, และเมล็ด
สรรพคุณ คำฝอย :
- ดอกคำฝอย หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล รสหวาน บำรุงโลหิตระดู แก้น้ำเหลืองเสีย แก้แสบร้อนตามผิวหนัง บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู แก้ดีพิการ โรคผิวหนัง ฟอกโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน
- เกสรคำฝอย บำรุงโลหิต ประจำเดือนของสตรี
- เมล็ดคำฝอย เป็นยาขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้บวม ขับโลหิตประจำเดือน ตำพอกหัวเหน่า แก้ปวดมดลูกหลังจากการคลอดบุตร
- น้ำมันจากเมล็ดคำฝอย ทาแก้อัมพาต และขัดตามข้อต่างๆ
- ดอกแก่ ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง