ชื่อสมุนไพร : คว่ำตายหงายเป็น
ชื่ออื่น :
กระลำเพาะ, ต้นตายใบเป็น, นิรพัตร, เบญจฉัตร, กะเร, กาลำ, แข็งโพะ, โพะเพะ, ต้นตายปลายเป็น, ตาละ, ปะเตียลเพลิง, เพรอะแพระ, มะตบ, ล็อบแล็บ, ลุบลับ, ลุมลัง, ยาเท้า, ส้มเช้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kalanchoe pinnata (Lam.) Pers.
ชื่อวงศ์ : CRASSULACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  •  คว่ำตายหงายเป็น เป็นไม้ล้มลุก สูง 1 เมตร อวบน้ำ ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมากนัก เมื่อยังอ่อนตามข้อจะบวมมีสีเขียวและมีจุดสีม่วงแต้ม
    คว่ำตายหงายเป็น
  • ใบคว่ำตายหงายเป็น เป็นใบเดี่ยว ขอบใบหยัก รูปรีแกมรุปไข่ กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 5-20 เซนติเมตร โคนและ ปลายใบมน เนื้อใบหนา อวบ ตรงขอบใบมีสีม่วง
  • ดอกคว่ำตายหงายเป็น ออกเป็นช่อที่ปลายยอด กลีบรองดอก แยกเป็นแฉก กลีบดอกด้านสีแดง ด้านล่างสีเขียว เป็นหลอด
  • ผลคว่ำตายหงายเป็น เมื่อแก่จัดจะแห้งและแตกด้านข้าง เมล็ดรูปขอบขนานแกมรี มีขนาดเล็ก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ทั้งต้น

สรรพคุณ คว่ำตายหงายเป็น :

  • ใบ, ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม ช่วยให้คลอดง่าย ตำพอกหรือทาแก้ปวดกระดูก กระดูกหัก แผลไฟไหม้
  •  ตำคั้นน้ำ แก้บิด ท้องร่วง อหิวาตกโรค นิ่ว ขับปัสสาวะ ตำพอกแก้ปวดอักเสบ ฟกบวม รักษาฝี ถอนพิษ น้ำคั้นในผสมการบูร ทาถูนวด แก้เคล็ด ขัดยอก และเเพลง กล้ามเนื้ออักเสบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ใบเผาไฟเล็กน้อย หรือตำพอกแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ฝี ตาปลา
สรรพคุณแบบที่ใช้
พื้นบ้านอาเซียนที่ใช้ตรงกัน คือ ใช้ใบสด บดรักษาแผลไฟไหม้ชนิดไม่เป็นมากหรือเล็กน้อย ฝี โรคผิวหนัง
ในฟิลิปปินส์และอินเดีย โดย เป็นที่รู้จักดีสำหรับการใช้ห้ามเลือดและช่วยให้แผลหาย นอกจากนี้ยังใช้ในการรักษาหูดที่เท้าอีกด้วย
Previous articleควินิน
Next articleคลุ้ม