ชื่อสมุนไพร : ข่อยหยอง
ชื่ออื่น ๆ : ข่อยหิน, เฮาสะท้อน, เฮาะสะต้อน (เชียงใหม่), หัสสะท้อน (เชียงราย), ข่อยนั่ง (ลำปาง), ชาป่า (จันทบุรี), ข่อยป่า (ตราด), คันทรง, คันเพชร (สุราษฎร์ธานี), ข่อยหยอง, ผักกรูด (ประจวบคีรีขันธ์), หัสสะท้อน (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), กะชึ่ม, ข่อยเตี้ย, ข่อยหนาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Streblus ilicifolius (Vidal) Corner.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นข่อยหยอง จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 20 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเทาปนสีน้ำตาลอ่อน หรือเป็นสีเทาค่อนข้างขาว มีหนามแหลมยาวออกตามลำต้นและกิ่งก้าน หนามยาว 1-4.5 เซนติเมตร ไม่มียาง เนื้อไม้เหนียว ส่วนบนค่อนข้างคดงอเป็นปุ่มปมและเป็นร่องเล็กน้อย
- ใบข่อยหยอง ริมขอบใบเป็นจักร มีหนามแหลมแข็ง ใบรูปรี เรียงเวียนสลับ ใบเดี่ยว รูปไข่กลับ ยาว 4-25 เซนติเมตร ปลายมีติ่งคล้ายหนาม ขอบจักฟันเลื่อยเป็นหนามห่าง ๆ เส้นแขนงใบข้างละ 8-12 เส้น ก้านใบยาว 0.2-1 เซนติเมตร
- ดอกข่อยหยอง เป็นช่อดอกเล็ก สีขาวและเหลือง ช่อดอกเพศผู้แบบช่อเชิงลด 1-2 ช่อ ยาว 1-5 เซนติเมตร ก้านช่อและก้านดอกสั้นมาก กลีบรวมยาวประมาณ 1 มม. เกสรเพศผู้ยาว 2-2.5 มิลลิเมตร ช่อดอกเพศเมียแบบช่อกระจะ ออกเดี่ยว ๆ ก้านช่อยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มี 1-3 ดอก ก้านดอกยาว 2-8 มิลลิเมตร กลีบรวมยาว 1-2 มิลลิเมตร กลีบคู่ในขยายในผลยาวได้ถึง 1 เซนติเมตร มีขนครุย ยอดเกสรยาว 2-3.5 มิลลิเมตร
- ผลข่อยหยอง ผลเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบรวมหุ้มประมาณกึ่งหนึ่ง ผิวเรียบ ผลอ่อนสีขาวหรือเทา เปลือกในมียางสีขาว เมื่อสุกผลสีเหลือง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อไม้, ราก, ใบ, เปลือกต้น
สรรพคุณ ข่อยหยอง :
- เนื้อไม้และราก ใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับเมือกในลำไส้ และรักษาโรคกษัย ไตพิการ
- ใบ รสเมาเฝื่อน ตำกับข้าวสาร คั้นเอาน้ำดื่มทำให้อาเจียนถอนพิษยาเบื่อเมาหรืออาหารแสลง
- เปลือกต้น แก้ท้องร่วงรำมะนาด บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลมยาอายุวัฒนะ
ข้อมูลเพิ่มเติม :
อื่น ๆ : ข่อยหยองเป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามป่าบนเนินเขา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
ถิ่นที่อยู่ : ขึ้นได้กับทุกสภาพดิน ชอบความชื้นและแสงแดดในระดับปานกลาง เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามป่าบนเนินเขาทั่วทุกภาคของประเทศ มีถิ่นกำเนิดในแถบอินโดจีนและมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ที่ปากถ้ำวิมานจักรี จังหวัดสระบุรี และที่เขากระวาน จังหวัดจันทบุรี และตำบลทุ่งกร่าง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
- วุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2540. สารานุกรมสมุนไพร. โอเดียนสโตร์:กรุงเทพมหานคร.
- วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. 2539. พจนานุกรม สมุนไพรไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4 .ประชุมทองการพิมพ์: กรุงเทพมหานคร.